วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อนาคตกูเกิล-แอปเปิล อำนาจบริหารเปลี่ยนมือ

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 2 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที คือ แอปเปิลและกูเกิล สร้างความตกตะลึงให้กับตลาดไม่น้อยกับข่าวการเปลี่ยนแปลงตัวผู้บริหารระดับสูง
โดยเมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคม สตีฟ จ็อบส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทแอปเปิลฯ ประกาศลาหยุดโดยไม่มีกำหนดจากเหตุผลเรื่องสุขภาพ และมอบอำนาจการบริหารให้กับ ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการเป็นผู้ดูแลแทน ขณะที่กูเกิลประกาศเปลี่ยนตัวประธานเจ้าหน้าที่บริหารเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม จาก เอริค ชมิดท์ เป็น แลร์รี เพจ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โดยจะมีผลในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ จึงเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าการปรับเปลี่ยนหัวเรือใหญ่ของทั้งสองบริษัทในครั้งนี้จะส่งผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมไอทีในอนาคตบ้าง
++ กูเกิลปรับโครงสร้างต่อกรเฟซบุ๊ก
 แม้ว่าในช่วงเกือบ 10 ปีภายใต้การบริหารงานของเอริค ชมิดท์ วัย 55 ปี ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอของกูเกิลเมื่อปี 2554 บริษัทจะเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและทำรายได้ในแต่ละปีได้มหาศาล จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจไอทีเคียงข้างไมโครซอฟท์และแอปเปิล แต่ในเวลานี้การแข่งขันบนโลกออนไลน์กำลังดุเดือดกว่าที่เคย โดยเฉพาะในยุคที่ใครๆ ก็พูดถึงแต่เฟซบุ๊ก ขณะที่เว็บไซต์โซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างทวิตเตอร์ โฟร์สแควร์ หรือกรุ๊ปปอง ก็มีโอกาสก้าวเข้ามาเป็นจุดเปลี่ยนของเกม ทำให้เจ้าของเสิร์ชเอนจินอันดับ 1 ของโลกต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อพยายามรักษาความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทน้องใหม่เหล่านี้
 ดังนั้นการสร้างภาพลักษณ์ของกูเกิลให้กลับมาทันสมัยและคล่องตัวอีกครั้งจึงเป็นงานสำคัญอันดับแรกของ แลร์รี เพจ ว่าที่ซีอีโอคนใหม่ เพจซึ่งเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ร่วมก่อตั้งบริษัทกูเกิลฯ กับเพื่อนร่วมสถาบัน คือ เซอร์เกย์ บริน ในปี 2541 เขาเคยดำรงตำแหน่งซีอีโอของกูเกิลมาก่อนหน้าที่ชมิดท์จะเข้ามากุมบังเหียน โดยในเวลานั้นกูเกิลมีรายได้ต่อปีไม่ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และมีพนักงานเพียงไม่ถึง 300 คน ผิดกับขนาดของกูเกิลในเวลานี้ ด้วยจำนวนพนักงาน 24,400 คน และรายได้ต่อปี 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้การตัดสินใจและการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีความรวดเร็วลดน้อยลง
 ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าชมิดท์จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด แต่เขาไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจขั้นเด็ดขาด เพจและบรินจะเข้ามามีบทบาทด้วยเสมอ และในบางกรณี อย่างเช่นการตัดสินใจย้ายเสิร์ชเอนจินออกจากจีนเมื่อปีที่แล้ว ทั้งคู่กลับคำตัดสินใจของชมิดท์เสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้กูเกิลยังมีปัญหาสมองไหลไปยังเฟซบุ๊ก รายงานจากสำนักข่าวเอพีระบุว่า พนักงาน 200 คน ของเฟซบุ๊กจากทั้งหมดประมาณ 2,000 คนย้ายมาจากกูเกิล วิศวกรบางคนให้เหตุผลในการเปลี่ยนมาทำงานกับเฟซบุ๊กว่าเป็นเพราะต้องการทำงานกับบริษัทขนาดเล็กที่เปิดโอกาสให้มีอิสระทางความคิดมากกว่า โดยปราศจากแรงกดดันจากระบบบริหารของบริษัท
 "ผมคิดว่าสิ่งที่เฟซบุ๊กแสดงให้กูเกิลเห็นก็คือ พวกเขาเดินหน้าช้าเกินไป เฟซบุ๊กกำลังก้าวไปด้วยความเร็วแสง แต่กูเกิลไม่ใช่" ลู เคอร์เนอร์ นักวิเคราะห์ด้านโซเชียลมีเดียจากเว็ดบุช ซีเคียวริตีส์ กล่าว และเสริมว่าการมีคน 3 คนบริหารบริษัทและตัดสินใจทำให้การเดินหน้าของกูเกิลช้าลง ขณะที่แดนนี ซัลลิแวน บรรณาธิการบริหารของเสิร์ชเอนจินแลนด์ ให้ความเห็นว่า "เฟซบุ๊กกลายมาเป็นเด็กที่มีความทันสมัยในวงการ และในเวลานี้กูเกิลก็ต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขายังคงทันสมัยอยู่"
++ สงครามโซเชียลเน็ตเวิร์ก
 กูเกิลยังไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อมาตอบโต้กับเฟซบุ๊กได้ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าความล่าช้านี้อาจสร้างความเสียหายอย่างมากให้กูเกิล เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ที่เฟซบุ๊กได้มาจากผู้ใช้จะช่วยให้เฟซบุ๊กกลายมาเป็นสื่อที่น่าดึงดูดใจสำหรับเจ้าของสินค้าในการขายโฆษณาที่เหมาะกับความสนใจของผู้บริโภค "เฟซบุ๊กกำลังโจมตีกูเกิลตรงป้อมปราการที่สำคัญที่สุดของบริษัท นั่นคือรายได้จากการโฆษณา" วิท แอนดรูว์ส นักวิเคราะห์จากการ์ทเนอร์ กล่าว
 กูเกิลทำเงินส่วนใหญ่จากโฆษณาที่เก็บข้อมูลมาจากเสิร์ชเอนจิน เช่น เวลาที่ผู้ใช้ค้นหาคำว่า "ดอกไม้" โฆษณาที่ปรากฏขึ้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นโฆษณาของร้านดอกไม้ เป็นต้น แต่โครงสร้างของเฟซบุ๊กสามารถทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงโฆษณาได้ในแบบที่กูเกิลทำไม่ได้ อย่างปุ่ม "ถูกใจ" ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถแสดงความพึงพอใจต่อทุกสิ่งตั้งแต่กางเกงยีนส์ไปจนถึงข้อความบนบล็อก
 อย่างไรก็ดี เคอร์เนอร์มองว่าแม้จะไม่มีบริการโซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นของตัวเอง แต่เฟซบุ๊กก็มีบทบาทในเครือข่ายสังคมมากอยู่แล้ว "ยูทูบเป็นเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกและมีความเป็นสังคมอยู่มาก อี-เมล์ยังคงเป็นสื่อที่ใช้สื่อสารกันในสังคมเป็นหลัก และกูเกิลเป็นผู้ให้บริการอี-เมล์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก นอกจากนี้พวกเขายังมีแพลตฟอร์มสำหรับบล็อกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว"
 ด้านบริน ซึ่งจะเข้ามาดูแลด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโครงการด้านยุทธศาสตร์ใหม่หลังจากเพจก้าวขึ้นรับตำแหน่งซีอีโอ กล่าวกับนักวิเคราะห์ว่า บริษัทจะทุ่มความพยายามมากขึ้นในด้านโซเชียลมีเดีย "ที่ผ่านมาเราจับเพียงแค่ 1% ของศักยภาพที่มีอยู่ในขอบเขตของมัน"
++ สตีฟ จ็อบส์ ลาป่วย
 ในขณะที่การปรับเปลี่ยนซีอีโอของกูเกิลเกิดขึ้นเพราะความต้องการในการปรับยุทธศาสตร์ อำนาจการบริหารของแอปเปิลจำเป็นต้องถูกเปลี่ยนมือเพราะปัญหาสุขภาพของสตีฟ จ็อบส์ ที่นอกจากจะเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทแล้ว ยังถือเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์แอปเปิลด้วย การลาป่วยของจ็อบส์ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยในครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2547 และครั้งที่ 2 ในปี 2552
 เมื่อปี 2547 จ็อบส์ถูกตรวจพบมะเร็งในตับอ่อนชนิดที่พบยาก ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัดในทันที แต่อีก 4 ปีถัดมาจ็อบส์เริ่มมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างมาก และในปี 2552 เขาก็ลาป่วยอีกครั้ง ในเวลานั้นแอปเปิลไม่ได้ให้รายละเอียดในการลาป่วยของจ็อบส์ จนในเวลาต่อมาโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในรัฐเทนเนสซีได้ออกมาเปิดเผยว่าจ็อบส์ทำการผ่าตัดเปลี่ยนตับที่นั่น
 จ็อบส์เขียนในอี-เมล์แจ้งแก่พนักงานถึงการลาป่วยของเขาเมื่อวันจันทร์ที่ 17 มกราคมที่ผ่านมาว่า เขาจะยังคงเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแอปเปิล และมีบทบาทในการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของบริษัทต่อไป "ผมรักแอปเปิลมากและหวังว่าจะกลับมาในทันทีที่ทำได้" และกล่าวว่าเขาและครอบครัวขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับความเคารพในความเป็นส่วนตัว
++ อนาคตที่ไม่แน่นอนของแอปเปิล
 การประกาศวางมือชั่วคราวของจ็อบส์สร้างความไม่แน่นอนให้กับอนาคตของแอปเปิล แม้ว่า ทิม คุก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ จะเคยก้าวขึ้นมาบริหารบริษัทในการลาป่วยของจ็อบส์ 2 ครั้งก่อน แต่ในช่วงที่ผ่านมา สตีฟ จ็อบส์ เป็นผู้ก้าวขึ้นเวทีแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นไอพ้อด ไอโฟน หรือไอแพ้ด ด้วยตัวเองมาโดยตลอด นับเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนว่าเขาคือผู้กำหนดทิศทางของบริษัท
 ไบรอัน มาร์แชล นักวิเคราะห์จากกลีเชอร์ แอนด์ โค. ให้ความเห็นว่าภาษาที่จ็อบส์ใช้ในจดหมายถึงพนักงานแอปเปิลในครั้งนี้เป็นไปในทิศทางบวกน้อยกว่าครั้งก่อน โดยเมื่อครั้งที่แล้วเขากำหนดระยะเวลาในการลาป่วย แต่ในครั้งนี้เขากลับไม่ให้กำหนดในการกลับมา ด้านชาร์ลส์ เอลสัน หัวหน้าศูนย์บรรษัทภิบาลไวน์เบิร์กจากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ กล่าวว่าแถลงการณ์ที่คลุมเครือของจ็อบส์ทำให้เกิดการจินตนาการกันไปต่างๆ นานา และนี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่แล้ว "มันสร้างความกังวลใจให้กับนักลงทุนอย่างมาก" เอลสัน กล่าว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,604  27-29  มกราคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทีโอทีเร่งบรอดแบนเจาะรากหญ้า

ทีโอที ขยับรุกบรอดแบนด์  เผยรายได้เกือบเท่าฟิกซ์ไลน์  คาดปีนี้ 8,000 ล้านบาท  ล่าสุด  เร่งปูพรมบรอดแบนด์ 2 เมกะบิต 199 บาท เจาะรากหญ้า   หมายสร้างมาตรฐานเร็วอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงขั้นต่ำให้คนไทย  ตั้งเป้า 2 เดือนกวาดผู้ใช้บริการขั้นต่ำ 50,000 ราย  
 นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)  เปิดเผยว่า ทีโอที มีนโยบายเชิงรุกธุรกิจอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง  หรือบรอดแบนด์มากขึ้น   เพื่อสนับสนุนโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติของรัฐบาล    โดยปีนี้จะมีโครงการลงทุนโครงข่ายหลายโครงการที่สนับสนุนโครงการดังกล่าว และการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของทีโอที   ทั้งโครงการปรับเปลี่ยนโครงข่ายไปสู่เอ็นจีเอ็น  (Next Generation Network) มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท   หรือการจัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารติดตั้งตามชุมสายโทรศัพท์ติดตั้งอุปกรณ์ชุมสาย Multi Service Access Node (MSAN)  จำนวน 3,415 แห่ง รองรับการทำตลาดบรอดแบนด์ 577,000 ราย มูลค่า 3,042 ล้านบาท ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนเมษายน หรือพฤษภาคมนี้    หรือโครงการไฟเบอร์ทูเดอะโฮม หรือ  FTTH ที่ปีนี้จะขยายการให้บริการไปทั่วประเทศ
  ล่าสุดได้เปิดตัวโครงการไทยเน็ต  ซึ่งเป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง   2 เมกะบิต ราคา 199 บาท ต่อเดือน  สามารถใช้งานได้ 60 ชั่วโมง   หากใช้งานเกินคิดค่าบริการเพิ่มชั่วโมงละ 10 บาท   แต่อัตราค่าบริการไม่เกิน 490 บาท  โดยโครงการไทยเน็ตนั้นเป็นการนำโครงข่ายเดิมที่มีอยู่มาให้บริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด   โดยที่ผ่านมามีผู้ใช้โทรศัพท์พื้นฐานทีโอที  3.5 ล้านราย   แต่มีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพียง 1 ล้านราย   ดังนั้นจึงมีโอกาสขยายผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้อีกเป็น 2.5 ล้านราย     อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ       โดยเปิดให้ผู้ที่ต้องการเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ต สามารถใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วเพียงพอต่อการใช้งาน   แต่มีราคาประหยัด   
 นอกจากนี้ยังต้องการสร้างมาตรฐานความเร็วขั้นต่ำที่ประชาชนสามารถเข้าถึงขึ้นมา    ซึ่งเชื่อว่าน่าจะช่วยกระตุ้นตลาดบรอดแบนด์ให้เติบโตขึ้น   โดยมีทางเลือกในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต  นอกเหนือจากแพ็กเกจของผู้ให้บริการเอกชนรายอื่นที่ให้บริการที่อัตรา 590 บาท    ส่วนเอกชนจะลงมาแข่งขัน หรือลดค่าบริการลงมาหรือไม่นั้น มองว่าอาจเป็นไปได้ที่เอกชนจะมีการเพิ่มความเร็วขึ้นมาแต่มีอัตราค่าบริการเท่าเดิม 
 สำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่จะได้รับสิทธิพิเศษฟรีค่าธรรมเนียมแรกเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจำนวน 1,000 บาท  อย่างไรก็ตามลูกค้าปัจจุบันที่มีความต้องการที่จะใช้แพ็กเกจนี้และไม่ติดสัญญาสามารถเปลี่ยนแพ็กเกจได้เลยหากติดสัญญาเดิมเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท สามารถเปลี่ยนมาใช้แพ็กเกจนี้ได้   ผู้ที่สมัครและใช้งานแพ็กเกจ " Thai Net" ได้รับสิทธิ์ซื้อโมเด็มในราคาพิเศษ 1 รายการ คือ Dual Port ราคา 500 บาท หรือ ไวร์เลส ราคา  1,250 บาท  โดยแพ็กเกจ "ไทยเน็ต"   มีระยะเวลาโปรโมชันตั้งแต่วันนี้ - 30 เมษายน  2554     ซึ่งคาดว่าจะมีลูกค้าขั้นต่ำ 50,000 ราย    อย่างไรก็ตามหากมีความต้องการลูกค้าเข้ามาเพิ่มก็พร้อมจะขยายระยะเวลาออกไป
 ส่วนในพื้นที่ห่างไกลที่โครงข่ายไม่สามารถเข้าถึง ทีโอที ก็มีโครงการถนนไร้สาย ซึ่งเป็นบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ ไวไฟ  ความเร็ว 2 เมกะบิต  ราคา 199 บาท   ที่ได้เปิดนำร่องไปแล้ว 10 จังหวัด   อาทิ พิษณุโลก ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์รับส่งสัญญาณไวไฟ ไปแล้ว 60 จุด   หรือ นครศรีธรรมราช 85 จุด    ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับการตอบรับจากประชาชนค่อนข้างดี   โดยมียอดการซื้อบัตรพรีเพด เข้ามาเป็นจำนวนมาก  
 นายนพณัฏฐ์ กล่าวต่ออีกว่า ปีนี้บริษัทคาดว่าจะมีตัวเลขผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพิ่มขึ้น 230,000-250,000 ราย  โดยคาดว่าจะเป็นผู้ใช้ต่างจังหวัด 150,000 ราย   และกรุงเทพฯและปริมณฑล 100,000 ราย   ส่วนรายได้จากบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงนั้นคาดว่าในปีนี้จะมีรายได้ 8,000 ล้านบาท  จากเดิมปีที่ผ่านมามีรายได้ประมาณ 7,400 ล้านบาท      โดยตัวเลขรายได้จากบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงนั้นขยับเข้าใกล้ตัวเลขรายได้จากบริการโทรศัพท์พื้นฐาน หรือ ฟิกซ์ไลน์มากขึ้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,609  13 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปูนกลางลุยลงทุนกัมพูชา

ปูนซีเมนต์นครหลวงไม่หวั่นเหตุสู้รบชายแดน เดินหน้าลุยโปรเจ็กต์ลงทุนตั้งโรงปูนที่กัมพูชา มูลค่า 3-4 พันล้านบาท กำลังการผลิต 1 ล้านตัน โดยเริ่มศึกษาความเป็นไปได้แล้ว คาดเกิดได้ภายใน 5 ปี มองตลาดปูนในภูมิภาคนี้ยังเติบโตอีกมากจากการลงทุนในลาวและพม่า ขณะที่ตลาดในประเทศปีนี้โต 4-5% แต่ยังห่วงสถานการณ์การเมืองหลังเลือกตั้ง หากไม่สงบอาจทำให้การลงทุนขนาดใหญ่ไม่ต่อเนื่อง
 นายฟิลิป อาร์โต้ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือ SCCC เปิดเผยว่า แม้ว่าประเทศไทยและกัมพูชาจะมีการปะทะกันตามแนวชายแดน แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อธุรกิจของไทยที่อยู่ในกัมพูชา โดยในส่วนของปูนซีเมนต์นครหลวงมีโครงการลงทุนตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ขนาดกำลังการผลิต 1 ล้านตันต่อปี มูลค่าการลงทุน 3,000-4,000 ล้านบาท ที่ระหว่างนี้อยู่ขั้นการศึกษาความเป็นไปได้โครงการอยู่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเดินหน้าลงทุนได้ภายใน 5 ปีนับจากนี้ ส่วนการลงทุนในสหภาพพม่าคงเป็นแผนในระยะยาวและอาจเป็นการลงทุนในรูปของการซื้อหรือควบรวมกิจการเดิมมากกว่าการตั้งโรงงานใหม่
 ส่วนการลงทุนในประเทศไทยได้มีการขยายกำลังการผลิตของโรงงานผลิตปูนสำเร็จรูปมอร์ตาร์ วงเงิน 320 ล้านบาท และการลงทุนเพิ่มสายการผลิตของโรงงานผลิตภัณฑ์ไม้คอนวูด 540 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2555 นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในธุรกิจวัสดุผสมคอนกรีตในอยุธยาและสุพรรณบุรี 120 ล้านบาท และการลงทุนในธุรกิจรับกำจัดกากของเสียของบริษัทจีโอไซเคิลฯ ซึ่งเป็นบริษัทลูก อีก 300 ล้านบาท
 นางจันทนา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร (การตลาดและงานขาย) บมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวง กล่าวว่า ความคืบหน้าการลงทุนตั้งโรงปูนซีเมนต์ในกัมพูชาขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจแร่และศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน เพราะจำเป็นต้องอยู่ใกล้โรงไฟฟ้า หากไม่มีโรงไฟฟ้าในบริเวณใกล้เคียงอาจต้องลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมใช้วงเงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ แม้ว่าไทยและกัมพูชาจะมีปัญหาความขัดแย้ง แต่ในภาพรวมสินค้าไทยยังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวกัมพูชา โดยปัจจุบันปูนซีเมนต์นครหลวงครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 40% ถือเป็นอันดับหนึ่งในกัมพูชา คิดเป็นปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ประมาณ 700,000-800,000 ตันต่อปี
 สำหรับแนวโน้มตลาดปูนซีเมนต์ในประเทศของปี 2554 นั้น เชื่อว่าจะขยายตัวประมาณ 4-5% หรือคิดเป็นปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ที่ 27.4 ล้านตัน เป็นการเติบโตที่ชะลอลงจากปี 2553 ซึ่งตลาดขยายตัว 9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มียอดการใช้ปูนซีเมนต์อยู่ที่ 26.3 ล้านตัน ส่วนราคาปูนซีเมนต์ในประเทศนั้นควรจะมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นอีก จากปัจจุบันปูนซีเมนต์ผสมเสร็จบรรจุถุงขนาด 50 กิโลกรัม มีราคาถุงละ 112 บาทต่อถุง โดยเห็นว่าราคาน่าจะอยู่ที่ 120 บาทต่อถุง อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ยังมีความเป็นห่วงสถานการณ์การเมืองในประเทศภายหลังการเลือกตั้ง ที่อาจไม่มีเสถียรภาพและจะส่งผลให้กลไกหรือการลงทุนต่างๆ ไม่ต่อเนื่อง
 ส่วนด้านตลาดในกลุ่มประเทศที่ติดกับชายแดนไทย ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพพม่า ซึ่งเป็นตลาดสำคัญรองจากตลาดในประเทศของปูนซีเมนต์นครหลวงนั้น ในปี 2553 ที่ผ่านมา ปูนซีเมนต์นครหลวงมียอดการจำหน่ายปูนซีเมนต์ไปยังตลาดกลุ่มนี้ 1.65 ล้านตัน หรือเติบโตจากปีก่อน 23% เนื่องจากใน สปป.ลาว มีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าน้ำงึม 3 และโรงไฟฟ้าหงสา ซึ่งจะทำให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ปริมาณมหาศาล อีกทั้งยังมีโครงการสร้างทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากสิบสองปันนา ในสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังเวียงจันทน์ใน สปป.ลาว ขณะที่สหภาพพม่ามีโครงการสร้างเมืองใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2554 การทำธุรกิจของปูนซีเมนต์นครหลวงในตลาดกลุ่มนี้จะขยายตัวราว 7% หรือประมาณ 1.77 ล้านตัน แต่ถ้ามีโครงการขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นก็จะมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นอีก
 ขณะที่รายได้จากตลาดส่งออกของปูนซีเมนต์นครหลวง ประเมินว่าในปี 2554 นี้จะเติบโต 1.9% หรือส่งออก 2.8 ล้านตัน สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งส่งออกอยู่ที่ 2.75 ล้านตัน ด้านราคาขายมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น โดยปีนี้ราคาส่งออกอยู่ที่ 45 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน จากปีที่แล้วมีราคาเฉลี่ย 42 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน
 นายจันดานา ลิยานาเก รองประธานอาวุโส (การเงินและการควบคุมธุรกิจ) บมจ. ปูนซีเมนต์นครหลวง กล่าวถึงผลประกอบการ ในปี 2553 ว่า ปูนซีเมนต์นครหลวงมีรายได้สุทธิจากการขาย 20,982 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.1% เมื่อเทียบกับปี 2552 เป็นผลจากการลงทุนด้านการก่อสร้างภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งของภาครัฐและความต้องการปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 ที่ผ่านมาราคาปูนซีเมนต์ลดลงทำให้กำไรสุทธิลงมาอยู่ที่ 2,701 ล้านบาท จากปีก่อนหน้ามีกำไรสุทธิ 2,946 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,609  13 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สัญญาซื้อขาย

สัญญาซื้อขาย
  1. ลักษณะทั่วไปของสัญญาซื้อขาย
  2. ทรัพย์สินที่ซื้อขาย
  3. ผู้มีอำนาจซื้อขายทรัพย์สิน
  4. แบบของสัญญาซื้อขาย
  5. ประเภทของสัญญาซื้อขาย
  6. การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขาย
  7. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขาย
  8. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อ
มาตรา 453
                                อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

*      ลักษณะทั่วไปของสัญญาซื้อขาย
1.      สัญญาซื้อขายมีคู่สัญญาสองฝ่าย
2.      สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
3.      วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขาย คือ การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายแลกกับเงินตรา

*      ข้อสังเกต
1.      เงินตรา
2.      ราคาเป็นสาระสำคัญในการตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน แต่การกำหนดราคาทำกันได้หลายวิธี
3.      การขายประกัน การซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ การขายความลับ ฯลฯ
2. ทรัยพ์สินที่ซื้อขาย
*                      ทรัพย์สินทุกชนิด
n      ยกเว้นทรัยพ์นอกพาณิชย์
3. ผู้มีอำนาจซื้อขายทรัพย์สิน

*      ผู้มีอำนาจซื้อทรัพย์สิน è บุคคล


*      ผู้มีอำนาจขายทรัพย์สิน è เจ้าของกรรมสิทธิ์
หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
4. แบบของสัญญาซื้อขาย

*      หลัก  การทำสัญญาซื้อขายไม่มีแบบ
*      ยกเว้น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จะต้องทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นการซื้อขายจะตกเป็นโมฆะ (มาตรา 456)
*      ข้อสังเกต
n      คำว่า สัญญาซื้อขาย หรือ การซื้อขาย
หมายถึง
ก.      สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
ข.      สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข
ค.      สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลา
ข.      ข้อสังเกต
ก.      คำสั่ง สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หมายถึง
ก.      เรือกำปั่น หรือ เรือ มีระวางหกตันขึ้นไป
ข.      เรือกลไฟ หรือ เรือยนต์มีระวางห้าตันขึ้นไป
ค.      แพ
ง.       สัตว์พาหนะ
จ.       ข้อสังเกต
ก.      สถานที่จดทะเบียน
ก.      ที่ดิน à สำนักงานที่ดิน
ข.      เรือ àกรมเจ้าท่า
ค.      แพ à อำเภอ, เขต
ง.       สัตว์พาหนะ à อำเภอ, เขต


*      หลักฐานสำหรับฟ้องร้องให้บังคับคดี ในสัญญาซื้อขาย
1.      สัญญาจะซื้อจะขาย
2.      คำมั่นจะซื้อ หรือคำมั่นจะขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
3.      สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ (ชนิดธรรมดา) ซึ่งตกลงกันเป็นราคาตั้งแต่ ห้าร้อยบาท หรือกว่านั้นขึ้นไป
  1. จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ จึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีต่อศาลได้
1.      หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่ง อย่างใด ลงลายมือชื่อ ฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ
2.      ได้วางประจำไว้ หรือ
3.      ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
  1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/ 2493
    1. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันด้วยปากเปล่า และยังมิได้ชำระราคาที่ดินแก่กัน แต่ผู้ขายได้มอบที่ดินให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองแล้ว ดังนี้ ถือว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว ย่อมเป็นสัญญาจะซื้อขายถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ผู้ซื้อฟ้องข้อบังคับให้โอนขายตามสัญญาได้
  2. ข้อสังเกต
1.      ที่ดินมือเปล่า
1.      เป็นที่ดินที่ยังไม่มี โฉนดที่ดิน
2.      แต่อาจมีหลักฐานอื่นๆได้ เช่น นส.3, นส.3 ก., สค.1, ใบเหยียบย่ำ เป็นที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์
  เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง

*      ประเภทของสัญญาซื้อขาย
ก.      สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
ข.      สัญญาซื้อขาย มีเงื่อนไข
ค.      สัญญาซื้อขาย มีเงื่อนเวลา
ง.       สัญญาจะซื้อจะขาย
จ.       คำมั่นจะซื้อ หรือ คำมั่นจะขาย
สัญญาซื้อขาย โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึง
                สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งตัวบทกฎหมาย
  เรียกว่า สัญญาซื้อขายสำเร็จสมบูรณ์
            (มาตรา 455)
*      สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อใด
n      ไม่ใช่ เมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคากันเรียบร้อยแล้ว
n      ไม่ใช่ เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อแล้ว
n      แต่หมายถึง เมื่อคู่สัญญาได้ตกลงกันได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
*      คู่สัญญาตกลงซื้อขายกันได้เรียบร้อยเมื่อใด สัญญาซื้อขายก็สำเร็จบริบูรณ์ หรือ เสร็จเด็ดขาดเมื่อนั้น
n      การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
n      การส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้ซื้อ
n      การชำระราคาแก่ผู้ขาย เป็นเพียงหนี้อันเกิดขึ้นแก่คู่สัญญาที่ได้ตกลงซื้อขายทรัพย์สินกัน ไม่ใช่เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ หรือ เสร็จเด็ดขาดของการซื้อขาย
*      สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด/ สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์ หมายถึง
n      สัญญาที่ซื้อขายที่คู่สัญญาได้ทำการตกลงซื้อขายกันได้เรียบร้อยแล้ว ไม่มีเรื่องอะไรที่คู่สัญญาจะต้องตกลงกันอีกแล้ว
*      สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข หมายถึง
n      สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่คู่สัญญาได้ตกลงกันว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าการจะเป็นไปตามเงื่อนไข
*      สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลา หมายถึง
n      สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่คู่สัญญาได้ตกลงกันว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้น ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะถึงกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันแล้ว
*      เงื่อนไข หมายถึง
n      เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น หรือไม่
*      เงื่อนเวลา หมายถึง
n      เหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งจะต้องเกิดขึ้น หรือถึงกำหนดอย่างแน่นอน
*      สัญญาจะซื้อจะขาย หมายถึง
n      สัญญาซื้อขายที่คู่สัญญาตกลงกันว่าจะไปทำการซื้อขายให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดในวันข้างหน้า
*      ทำสัญญาซื้อขายให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด หมายถึง
n      จะไปทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน
*      สัญญาจะซื้อจะขาย จึงเกิดขึ้นได้กับการซื้อขาย
1.      อสังหาริมทรัพย์
2.      สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
*      ข้อสังเกต:
            สังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา จะทำสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ (การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา ตกเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเท่านั้น)
*      คำมั่นจะซื้อ คำมั่นจะขาย
n      เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของคู่สัญญาว่าจะซื้อ หรือจะขายทรัพย์สินอย่างใดในราคาที่แน่นอน
n      ซึ่งทำให้ผู้ให้คำมั่นต้องผูกพันอยู่กับคำมั่นนั้น แต่เพียงฝ่ายเดียว
*      คำมั่นจะซื้อ คำมั่นจะขาย
n      คำมั่นที่มีกำหนดเวลาให้บอกกล่าวตกลง
n      คำมั่นที่ไม่มีกำหนดเวลาให้บอกกล่าวตกลง
*      ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำมั่น
1.      คำมั่นไม่ใช่สัญญา à เป็นเพียงนิติกรรมฝ่ายเดียว
2.      คำมั่นเป็นคำเสนอประเภทหนึ่ง โดยมีลักษณะที่มั่นคงแน่นอนกว่าคำเสนอ จึงมีลักษณะเหมือนคำเสนอบวกกับคำรับรอง
  1. ตัวอย่างคำมั่นจะขาย
                                                ถ้าท่านประสงค์จะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 1340 นี้เมื่อใด ข้าพเจ้ายินดีจะขายให้ในราคา สองล้านบาทถ้วน
                                                                                                                หนึ่ง
*      ตัวอย่างคำเสนอจะขาย         
                                                ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะขายที่ดิน โฉนดเลขที่ 1340 นี้ ในราคาสองล้านบาทถ้วน
                                                                                                                หนึ่ง