วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วิเคราะห์ปัญหาการขาดสวัสดิการของแรงงานเกษตรในประเทศไทย

วิเคราะห์ปัญหาการขาดสวัสดิการของแรงงานเกษตรในประเทศไทย
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                     แรงงานในภาคการเกษตรของประเทศไทยถูกละเลยไม่ได้รับความสำคัญและขาดโอกาสที่จะได้รับสวัสดิการจากนายจ้างและภาครัฐเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นปัญหาที่ขัดต่อกฎหมายของไทยและหลักการคุ้มครองแรงงานสากลซึ่งควรจะต้องได้รับการแก้ไข แรงงานภาคเกษตรของไทย มีหลายประเภทแรงงานที่ทำงานเพาะปลูกและบำรุงพืช  แรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังพืชเก็บเกี่ยวได้แล้ว
     สาเหตุที่ภาครัฐไม่ได้ให้ความสนใจอาจเป็นเพราะแรงงานภาคเกษตรของไทยมีการใช้แรงงานในแบบงานช่วยเหลือกันภายในหมู่บ้านหรือที่เรียกว่าการลงแขก เช่นการลงแขกเกี่ยวข้าวการลงแขกปลูกข้าวหรือดำนาซึ่งมีการช่วยเหลืออาศัยซึ่งกันและกันอาจมีการทำอาหารเอาไว้รับรองเพื่อนบ้านที่มาช่วยแต่ก็ไม่มีการช่วยเหลือในลักษณะความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายการคุ้มครองแรงงานที่มีอยู่ซึ่งถ้าหากเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานขึ้นมาผู้ใช้แรงงานก็ต้องรับเคราะห์กรรมในส่วนนี้ไปโดยไม่ได้รับการแก้ไขเยียวยาซึ่งแตกต่างจากแรงงานในระบบโรงงานที่จะมีกองทุนประกันสังคมที่จัดสวัสดิการให้กับผู้ประกันตนโดยหักจากรายได้ของลูกจ้างและนายจ้างต้องมีการจ่ายเงินสมทบอีกส่วนหนึ่งร่วมในกองทุน ซึ่งทำให้แรงงานในโรงงานได้รับสวัสดิการที่ดีพอสมควรหากมีการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน
                 สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ความแตกต่างทางรายได้
ระหว่างกลุ่มคนรวยที่สุดกับจนที่สุดห่างกันถึงกว่า 15 เท่า สภาพเช่นนี้เรียกว่า รวยล้น จนเหลือซึ่งจะ
นำไปสู่ปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในที่สุดการลดช่องว่างทางรายได้ การแก้ความยากจน และการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม จำเป็นต้องดำเนินการใน 2 ด้าน คือ ด้านผู้มีมาก (The haves) สามารถใช้แนวทางการคลัง การงบประมาณ การภาษีและการป้องกันการผูกขาด ส่วนด้านผู้มีน้อย (Have-nots) ควรผลักดันให้กลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ได้หลุดพ้นจากภาวะขัดสนยากจน ควบคู่กับการสร้างโอกาสที่จะก้าวเดินต่อไปในสังคมอย่างสมศักดิ์ศรี โดยมีระบบสวัสดิการ การสามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิต การเสริมสร้างอำนาจต่อรองด้านการคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) และการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายสาธารณะเป็นต้น1
 

                       1มนต์ชัย ภูสีเขียว  ระบบสวัสดิการในทศวรรษหน้า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  www.nesac.go.thkmsMain...NEXT_DECADE_of_Social_Welfare.pdf,วันที่ 19  กันยายน 2553  



วัตถุประสงค์การวิจัย
     1.เพื่อทราบสภาพปัญหาการขาดสวัสดิการของแรงงานเกษตรในประเทศไทย
                     2. เพื่อทราบปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการแรงงานเกษตรในประเทศไทย
                     3. เพื่อศึกษาสาเหตุของปัญหา
                     4. เพื่อหาแนวทางการแก้ไขการขาดสวัสดิการแรงงานเกษตรในประเทศไทย

กรอบแนวคิดของการวิจัย
                     ในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการขาดสวัสดิการของแรงงานเกษตรในประเทศไทยในครั้งนี้เพื่อเป็นการแสวงหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับแรงงานภาคการเกษตรของไทยที่ยังขาดสวัสดิการในการปฏิบัติงานทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมจึงต้องมีการร่วมกันคิดหาวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ประเทศชาติพัฒนาไปในทางที่ดีได้รับประโยชน์และเกิดความเสมอภาคกันในสังคมไทย
ประเด็นปัญหาของการวิจัย
                     การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัยจากปัญหาการขาดสวัสดิการของแรงงานภาคเกษตรของประเทศไทย โดยศึกษาจากกฎหมายประกันสังคม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน   และทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการให้กับแรงงาน
ขอบเขตการวิจัย
                     วิจัยจากการศึกษาปัญหาการขาดสวัสดิการของแรงงานนอกระบบประเภทแรงงานเกษตรในประเทศไทยเพื่อหาแนวทางแก้ไขเยียวยา
คำนิยายศัพท์เฉพาะ
                     แรงงานเกษตร หมายความว่า แรงงานนอกระบบ แรงงานพิเศษ และงานพืชไร่
                     สวัสดิการแรงงานเกษตร หมายความว่า ประกันสังคมของแรงงานเกษตร         
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     1.  สามารถแก้ไขปัญหาการขาดสวัสดิการของแรงงานภาคเกษตรของประเทศไทยได้
                     2.  สามารถรู้ถึงสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นจากกฎหมายได้
  3.  มีวิธีแก้ไขปัญหาโดยพิจารณาจากสาเหตุ
                     4.  สามารถแก้ไขปัญหาการขาดสวัสดิการของแรงงานในภาคเกษตรของไทยได้

                             
ระเบียบวิธีวิจัย
                     การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยดังต่อไปนี้
                     ส่วนที่ 1.  เป็นการศึกษาค้นคว้าวิจัยเอกสาร (Documents Research) โดยการรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หนังสือราชการ วารสาร ข้อมูลจากเว็บไซต์ และตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการแรงงานเกษตรของต่างประเทศเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ สังเคราะห์ หาแนวทางแก้ไขอุดช่องโหว่ การจัดสวัสดิการของแรงงานเกษตรในประเทศไทย
                     ส่วนที่ 2. เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบและวิเคราะห์เนื้อหา( Content analysis) กฎหมายประกันสังคมของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการเปรียบเทียบถึงข้อด้อยของกฎหมายไทยที่ทำให้เกิดปัญหาและข้อดีของกฎหมายต่างประเทศเพื่อให้ทราบถึงความแตกต่าง และใช้เป็นแนวทางแก้ไขกฎหมายของไทย













บทที่ 2
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

 แนวคิดและทฤษฎีการจัดสวัสดิการสังคม
1. แนวคิดและความหมายของงานสวัสดิการสังคม
1.1 ความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์สังคม
- ระบบการจัดบริการสังคมที่ครอบคลุมฐานชีวิตทั้งมวลของมนุษย์
- การได้รับการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐาน การเข้าถึงคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของชีวิตใน ระยะยาวอย่างยั่งยืน
- การได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับต่าง ๆ
- สวัสดิการที่เคารพยอมรับในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ประสบปัญหา
- สวัสดิการที่อยู่บนฐานความหลากหลาย เป็นธรรม
1.2 ความหมายกว้างขวางครอบคลุมเรื่องของการให้บริการและความมั่นคงของชีวิตมากขึ้น
- สวัสดิการที่ประกอบด้วยองค์ประกอบที่รอบด้าน เช่น 7 ด้านของความมั่นคงในชีวิต เช่น การศึกษา สาธารณสุข ที่อยู่อาศัย รายได้และการมีงานทำ ความมั่นคงทางสังคม บริการทางสังคม นันทนาการ
1.3 ความหมายที่มองสวัสดิการเชิงลึกในด้านการพัฒนาและการเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่กลุ่ม ผู้ใช้บริการ มากกว่าการสงเคราะห์
2. สถานการณ์ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและปัจจัยทางการทำงานด้านสวัสดิการสังคม
2.1 ระบบโลกาภิวัตน์ และโลกไร้พรมแดนทำให้ต้องเผชิญหน้าและอยู่ร่วมกับความหลากหลายของมนุษย์ มากขึ้น
2.2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบไอที ทำให้รับรู้ข้อมูลได้เร็ว
2.3 แนวคิดการจัดการแนวใหม่ ซึ่งเน้นการทำงานกับองค์กรที่แตกต่างจากเดิม เช่น องค์กรไม่แสวง ประโยชน์ องค์กรอิสระและองค์กรมหาชน องค์กรชุมชน องค์กรเครือข่าย ฯลฯ
2.4 การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่น ชุมชน
2.5 แนวคิดการเกิดครอบครัวในรูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป
2.6 การบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล ที่รัฐจะถูกตรวจสอบและถูกประเมินในระบบเปิด
2.7 การถูกควบคุมโดยค่านิยมทางสากล
2.8 การเกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ของกลุ่มพิทักษ์สิทธิต่าง ๆ
3. ทฤษฎีและแนวคิดทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และมีผลต่อทิศทางการทำงานด้านสวัสดิการสังคม
แนวคิดกระแสหลัก
1. เชื่อคำตอบที่มาจากเหตุผลและตอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดในการวิเคราะห์ปัญหา มีแนวโน้มแบบมีบทสรุปตายตัว และเกิดแนวคิดแบบสำเร็จรูปในการพิจารณาปัญหา
2. เน้นการให้บริการแก้ปัญหาเชิงปัจเจก โดยสถาบันรัฐเป็นผู้ให้บริการหลัก
3. ให้คุณค่าและให้น้ำหนักที่นักวิชาชีพว่าเป็นผู้มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาผู้ ประสบปัญหา
4. สัมพันธภาพของผู้ให้บริการและผู้ประสบปัญหา เป็นสัมพันธภาพเชิงอำนาจ ในฐานะผู้ให้และ ผู้รับ
5. งานให้บริการเชิงสถาบันมีกฎเกณฑ์ ระบบระเบียบที่แข็งตัว มีกรอบกำหนด
6. ระบบบริการเริ่มมีความหลากหลาย เช่น รัฐวิถี ชุมชนวิถี ท้องถิ่นวิถี แต่รัฐยังคงเป็นบทบาทเอก ในหลายพื้นที่ หลายประเด็น
7. ฐานความรู้ของงานสังคมสงเคราะห์ ยึดความเป็นศาสตร์และศิลป์ ในการให้บริการที่มุ่งแก้ไข เปลี่ยนแปลงปัจเจก
8. ค่านิยมทางวิชาชีพ ยึดหลักความแตกต่าง การรักษาความลับ การยอมรับ การไม่วิพากษ์วิจารณ์ ความเป็นธรรมทางสังคม
แนวคิดหลังสมัยใหม่
1. ท้าทายความเชื่อด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว ให้คุณค่ากับความเชื่อที่มาจากการรื้อฟื้นคุณค่า วิถีวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่มาจากฐานศาสนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวคิดในการวิเคราะห์ปัญหามีความเป็น พลวัต มีการพิจารณาปัญหาแบบมุมมองเชิงสถานการณ์
2. เน้นการแก้ปัญหาแบบพหุวิธี พหุลักษณ์ บนฐานคิดที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย มิได้มี เจ้าภาพเดียวเป็นหลัก
3. เชื่อว่า นักวิชาชีพเป็นเพียงผู้หนึ่งที่เข้าร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลง โดยผ่านการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ให้บริการและเจ้าของประสบการณ์ ในหลายวิธีการ และสร้างเงื่อนไขให้เจ้าของ ประสบการณ์เข้าร่วมแก้ปัญหาของพวกเขาด้วยตัวเอง
4. สัมพันธภาพระหว่างสองฝ่ายมีการทำงานร่วมกัน และสร้างความสัมพันธ์ที่เท่าเทียม เสมอภาค ในการทำงานร่วมกัน
5. งานให้บริการควรมีความยืดหยุ่น ไม่มีการวางกรอบ กฎเกณฑ์ที่ตายตัว ผู้ให้บริการเป็นผู้ ประสานงาน ผู้อำนวยความสะดวกให้กระบวนการลื่นไหล คล่องตัว
6. ระบบบริการเน้นความหลากหลาย จากพหุภาคี ทั้งจากรัฐ องค์กรภาคเอกชน องค์กรภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรชุมชน กลุ่มประชาชนเจ้าของปัญหา ระบบอาสาสมัคร โดยไม่มีใครเป็นเอกโดยลำพัง
7. ฐานความรู้ให้ความสำคัญกับแนวคิดการบูรณาการทางสังคม การรื้อถอนและสร้าง การจัดการ ทางสังคม
8. ค่านิยมทางวิชาชีพเปลี่ยนแปลง เพิ่มค่านิยม ด้านความหลากหลาย การเคารพในคุณค่าและ
อัตลักษณ์ของเจ้าของประสบการณ์ สิทธิมนุษยชน
4. แนวคิดทุนทางสังคม
เนื้อหาสาระรวม
ทฤษฎีศักยภาพการพัฒนาและการแพร่กระจาย (Development Potenial-Diffusion Theory) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ศักยภาพการพัฒนา ประกอบด้วย สังกัป 4 ตัว คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติ
2. ทรัพยากรมนุษย์
3. องค์กรสังคม
        4. ภาวะผู้นำ
นั้นคือ 4 สิ่งนี้ทำให้เกิดการพัฒนาสังคม อีกส่วนคือ ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรม (Diffusion Theory) มีสังกัปหนึ่งตัว คือ การติดต่อกับโลกภายนอก ซึ่ งอธิบายถึงการติดต่อกันระหว่างสังคม โดยเฉพาะสังคมด้อยการพัฒนาที่ติดต่อกับสังคมพัฒนา จะทำให้สังคมพัฒนามีคุณภาพสูงขึ้น
สรุป ตามทฤษฎีนี้ สังคมจะพัฒนาได้โดยมีเหตุปัจจัย 6 ประการ คือทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากร มนุษย์ องค์การสังคม ภาวะผู้นำ การติดต่อและการฝึกอบรม ยิ่งมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มากขึ้น เพียงใด การพัฒนาก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resource) หมายถึง สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ตัวอย่าง ได้แก่ ดิน น้ำ ป่า แร่ธาตุ เช่น น้ำมัน ก๊าซ ทองคำ เงิน เพชร
ทรัพยากรมนุษย์ (Human resource) หมายถึง มนุษย์นั่นเอง แต่หมายเฉพาะกลุ่มคนในวัย แรงงาน เพราะคนวัยนี้มีกำลังแรงงานเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ส่วนคนวัยอื่น คือ วัยชรา (60 ปีขึ้นไป) หรือวัยเด็ก (14 ปีลงมา) เป็นภาระมากกว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
องค์การสังคม (Social organization) องค์การที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา คือ องค์การสังคม ประเภทสหจร (association) เช่น กลุ่มอาชีพ สหกรณ์ คณะกรรมการ กลุ่มทางการศึกษา เป็นต้น
ภาวะผู้นำ (Leadership) หมายถึง จำนวนคนที่เป็นผู้นำ เช่น ผู้นำทางการเมือง มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ตำบล เป็นต้น ผู้นำทางการศึกษา เช่น ครู กรรมการศึกษา เป็นต้น ผู้นำทางเศรษฐกิจ เช่น ผู้ร่ำรวย พ่อค้า ผู้นำกลุ่มชาวนา ผู้นำกลุ่มชาวไร่ ผู้นำกลุ่มทอผ้า เป็นต้น ผู้นำทางศาสนา เช่น สมภารวัด
การติดต่อ (Contact) หมายถึง การที่คนของชุมชนหนึ่ง เป็นชุมชนชนบท ติดต่อกับคนในอีก ตำบลหนึ่งคือ ชุมชนเมือง การติดต่อระหว่างชุมชน ระหว่างเมือง ระหว่างประเทศ เรียกว่า การติดต่อใน ความหมายนี้ทั้งสิ้น
การฝึกอบรม (Training) หมายถึง การได้รับการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะการศึกษาที่จะ เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพ เช่น การฝึกอาชีพด้านต่าง ๆ การฝึกเกี่ยวกับสหกรณ์ การฝึกเกี่ยวกับ สาธารณสุข การฝึกเกี่ยวกับการตลาด การฝึกเกี่ยวกับการช่าง เป็นต้น
การพัฒนา (รวมถึงการพัฒนาสังคม) หมายถึง กรมีคุณภาพชีวิต (quality of Life) ที่ดีขึ้น อาจวัด คุณภาพชีวิตได้หลายแบบ เช่น วัดทางการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง อนามัย หรือทางจิตใจ มีสิ่งเหล่านี้ สูงขึ้น หรือมากขึ้นก็ถือว่ามีการพัฒนาสูงขึ้น
5. แนวคิดการมีส่วนร่วม
หลักการ
1. หลักการช่วยกันคิด (Non-directive method) หมายถึง การพัฒนาที่เจ้าหน้าที่พัฒนาประชาชน และหรือหน่วยงานอื่น ๆ เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) องค์กรธุรกิจเอกชนบางประเภทที่ค้ากำไร แต่ ก็ทำงานร่วมกับประชาชน หลักการนี้ คือ การสุมหัวกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการพัฒนาชุมชน
2. หลักการ PAR การดำเนินการพัฒนาและวิจัยการพัฒนาพร้อมกันไป โดยทั้งเจ้าหน้าที่พัฒนา และประชาชนร่วมกันดำเนินการ หลักการนี้แสดงถึงการพยายามอย่างรอบคอบ โดยที่ระหว่างทำการ พัฒนาก็ช่วยกันสอดส่อง ความเป็นไปว่า ดำเนินงานไปตรงเป้าที่วางไว้หรือไม่
3. หลักการพึ่งตนเอง (Self reliance) หลักการนี้เป็นหลักการใหญ่อีกส่วนหนึ่ง หลักการนี้รวมถึง หลักการใกล้เคียงกันอีกอย่างหนึ่งคือหลักการช่วยตนเองเพราะจะทำให้ตนเองพึงตนเองได้
4. หลักการ BAN (Balance Ability and Networking) ประกอบด้วยสาระ 3 ประการ คือ
4.1 การรักษาสมดุล ที่มีทั้งในคนแต่ละคนนั้นคือสุภาพอนามัยที่ดี ถ้าไม่สมดุล คือ การ เจ็บป่วย ในครอบครัว คือ ครอบครัวมั่นคง ถ้าครอบครัวไม่สมดุล คือ ครอบครัวแตกแยก
4.2 การสร้างความสามารถ คือ ความสามารถในการทำให้เกิดการพึ่งตนเองได้ ต้องมี 5 ด้าน คือ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ จิตใจ สังคมและวัฒนธรรม
4.3 การสร้างเครือข่าย คือการมีเพื่อน มีพันธมิตร การพัฒนาซึ่งอาจเป็นบุคคล ชุมชน องค์กรหนึ่งก็ได้ มิตรเหล่านี้จะเป็นที่พึ่งของกันและกัน อาจเรียนรู้จากกันและกัน ช่วยเหลือกันเวลามี ปัญหาช่วยเหลือการเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า
5. หลักการจัดการ มีดังต่อไปนี้
5.1 การรู้จักตนเอง ผู้ที่จะทำงานพัฒนาชุมชนแบบจัดการหรือตัวชุมชนที่จะใช้วิธีพัฒนา ชุมชนแบบจัดการ จะต้องรู้จักตนเอง หรือศึกษาตนเอง-ชุมชน ให้รู้ว่า สภาพชุมชนเป็นอย่างไร มี โครงสร้าง อย่างไร องค์ประกอบประชากรเป็นอย่างไร เป็นต้น มีปัญหาอะไรบ้าง และความต้องการทาง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง กายภาพ มีอย่างไรบ้าง
5.2 การส่งเสริมการศึกษาอบรม การจัดการที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องพึ่งพาการศึกษา อบรม ว่าจะต้องมีการวางแผน การจัดกำลัง การลงมือดำเนินการ และการประสิทธิผล ล้วนต้องการ การศึกษา อบรม เพราะมิฉะนั้นจะทำสิ่งเหล่านั้นไม่ได้
6. แนวคิดกระบวนการกลุ่ม
การสร้างความร่วมมือ
ในปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาสังคมจะพบว่า มีหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน ของไทยและ ของต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมรูปแบบต่าง ๆ อยู่เพิ่มจำนวนมาก ในส่วนของรัฐมี สถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ส่วนของเอกชนอาจ เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ องค์การอาสาสมัครการพัฒนา (NGO) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร มี ทั้งองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา และที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา กับอีกกลุ่มหนึ่งเป็น องค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรประเภทนี้แสวงหาผลกำไรในการเข้ามาช่วยงานพัฒนา
แนวทางการชักนำบุคคลและองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมในกิจการพัฒนาสังคม ย่อมมีหลากหลาย ประการ เช่น
1.                  การทำความรู้จักกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รู้โครงสร้าง หน้าที่ โครงการ แผนงาน นโยบาย บุคคลผู้มีอำนาจและที่อยู่ขององค์การเพื่อการติดต่อ
2.                  การประชาสัมพันธ์หน่วยงาน โครงสร้างพัฒนาให้เป็นที่ทราบทั่วกันเพื่อเปิดโอกาสให้ องค์การอื่นเข้าร่วมมือด้วย
3.                  การติดต่อกับหน่วยงานโดยตรง เพื่อชักชวน หรือขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับงานพัฒนา
4.                  การแสดงประโยชน์ของการร่วมมือกันทำงานให้กับบุคคลหรือหน่วยงานที่ต้องการชักชวนให้ มาร่วมมือกันทำงาน
5.                  การชี้ให้เห็นผลร้ายของชุมชนหรือสังคมที่ไม่พัฒนา
6.                  การเร่งเร้าอุดมการณ์
7.                  การชักชวนให้คิดถึงคุณค่าของความเป็นคน

การร่วมมือกับองค์กรเอกชน
สิ่งสำคัญตรงนี้ก็คือ การมองเห็นความสำคัญขององค์กรเอกชนไม่ว่าจะเป็นประเภทแสวงหาผล กำไร เช่น ธนาคาร หรือ บริษัทธุรกิจ และไม่แสวงกำไรทั้งที่เกี่ยวกับศาสนาและไม่เกี่ยวกับศาสนาให้เขา เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสังคมร่วมกับหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นหลัก หน่วยงานเอกชนเหล่านี้แม้ โดยทั่วไปจะไม่มีขนาดใหญ่เท่าของรัฐ แต่เขามีกำลังเงิน กำลังทรัพย์ กำลังคน มีองค์กรอยู่มาก แพร่กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ บางประเภท มีความรู้ความสามารถ และวิธีการทำงานที่แตกต่างไปจาก ของทางราชการ
7. แนวคิดสวัสดิการสังคม
ในปัจจุบันมีความจำเป็นต้องมองอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทุกด้าน ต้องมองสวัสดิการสังคม เป็นกลไกในการป้องกันหรือการบรรเทาปัญหา และเป็นเครื่องมือพัฒนาคน โดยเฉพาะคนจนคนด้อย โอกาสไปพร้อม ๆ กันทุกมิติ โดยเราต้องพิจารณาคนเป็นศูนย์กลางคนที่สมบูรณ์คนหนึ่งต้องการเป็น คนที่มีสติปัญญา พลานามัยสมบูรณ์ จิตใจดีงาม มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้นั้น สวัสดิการสังคม ที่ทำให้คนสมบูรณ์ได้ สำหรับการบรรเทาปัญหาและพัฒนาคนให้สมบูรณ์ได้ ควรจัดขึ้นโดยทั้งภาครัฐและนอก ภาครัฐ ในการเป็นหลักประกันคุณภาพชีวิต เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความมั่นคงของ ครอบครัว ซึ่งการจัดสวัสดิการไม่ได้หมายถึงการพึ่งพางบประมาณจากรัฐเพียงด้านเดียวเท่านั้น การจัด สวัสดิการโดยชุมชน โดยครอบครัว โดยภาคเอกชน ก็มีอยู่ทั่วไป และมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาให้เข้า แข็งขึ้น โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ (กระบวนการพัฒนาสังคม)
การจัดสวัสดิการโดยชุมชน เกิดบนรากฐาน ของความเอื้ออาทร และความร่วมมือในชุมชนที่ สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิต ซึ่งมีการจัดสวัสดิการใน 3 รูปแบบ คือ การจัดสวัสดิการฐานทรัพยากร (เป็นต้นทุนของชุมชน เป็นความมั่นคงทางสังคมที่ชุมชนจัดให้ทุกคนในชุมชน เน้นสร้างความมั่นคง ทางด้านอาหาร รายได้ วัตถุดิบ เช่น การใช้ประโยชน์จากป่าสาธารณะ แหล่งน้ำ ทะเล ฯลฯ) การจัด สวัสดิการฐานวัฒนธรรม (ผ่านความเชื่อถือทางศาสนา และโครงสร้างทางสังคม เช่น สวัสดิการครอบครัว และกลุ่มเครือญาติ เป็นการเกื้อกูลกัน) และการจัดสวัสดิการฐานงานพัฒนา (เป็นกิจกรรมที่ชุมชนนำมา ปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาของตนเองและรับเอารูปแบบมาจากภายนอก เช่น กลุ่มฌาปนกิจ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มพัฒนาอาชีพ กลุ่มธุรกิจชุมชน ฯลฯ)
8. แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรชุมชน
1. การพัฒนาชุมชนของชนบท คือ การที่ชุมชนชนบทมีการพัฒนาสูงขึ้น
2. การพึ่งตนเองของชุมชนชนบท คือ การที่ชุมชนมีความสมดุลในสิ่งจำเป็นต่าง ๆ โดยเฉพาะมี ความสมดุลในเทคโนโลยี เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ จิตใจและสังคมวัฒนธรรม
3. TERMS (Technology ,Economic, mental Resource, Mental และ Soci-cultural) หมายถึง ปัจจัย สำคัญ 5 ตัว ที่จะทำให้ชุมชนจะพึ่งตนเองและพัฒนาได้ คือ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ จิตใจและสังคมวัฒนธรรม
4. Functional matrix (ความสัมพันธ์เชิงหน้าที่) หมายถึง การทำหน้าที่ของ TERMS แต่ละตัวที่ มีทั้งการทำหน้าที่เพื่อผลประโยชน์เฉพาะตน
5. BAN (Balance Ability and Networking) เป็นกระบวนการสร้างการพัฒนาและการพึ่งพา ตนเอง ที่จะต้องมีกิจกรรม 3 อย่างนี้ ควบคู่กันไป คือ การสร้างความสมดุลในแต่ละตัวของ TERMS และสร้างความสมดุลระหว่าง 5 ตัวของ TERMS การสร้างความสามารถในแต่ละด้านคือ 5 ด้านของ TERMS และความสามารถในการจัดการชุมชน
6. PAR (Participatory Action Research) หมายถึงว่า การพึ่งตนเองและการพัฒนาของชุมชน จะต้องมีกิจกรรมหลัก 2 ประเภท ควบคู่กันไป คือ การสร้างความสามารถในการพึ่งตนเองและพัฒนา (action) การทำวิจัย และประเมินผลงานตลอดเวลา เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
7. Resocialization (การขัดเกลาทางสังคมครั้งใหม่) หมายถึง การจัดทำประชาชนให้กลับไปเห็น คุณค่าของความเป็นไทย เอกลักษณ์ไทย วัฒนธรรมไทย และความรู้พื้นบ้าน (Folk wisdom) เพื่อที่จะ นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตอย่างไทยที่ต้องทำให้หันกลับมาสนใจ
9. รูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย
9.1 รูปแบบสวัสดิการสังคมเชิงสถาบันในความรับผิดชอบของรัฐยังเป็นสวัสดิการกระแสหลัก
- บริการด้านความจำเป็นพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ บริการด้านการประกันสังคม บริการเชิงสงเคราะห์ แก่ผู้ด้อยโอกาส เป็นรูปแบบที่รัฐรับผิดชอบเป็นด้านหลัก
- รัฐวางแผนและกำหนดแนวทางจากส่วนกลาง การให้บริการใช้การตรวจสอบคุณสมบัติ รายบุคคลแต่ไม่ทันการต่อปัญหา
- การที่รัฐเป็นเจ้าของงานหลักส่งผลให้เกิดความคิดพึ่งพิงรัฐมากเกินไป จนทำให้อ่อนแอ
9.2 รูปแบบสวัสดิการสังคมโดยภาคเอกชนและองค์การสาธารณประโยชน์
- มีบริการหลายระดับ ทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย และระบบสิ่งแวดล้อมทรัพยากร ทุน ทางสังคมในชุมชน
- รูปแบบบริการเน้นการทำงานรวมกลุ่ม จัดตั้งกลุ่ม เสริมความเข้มแข็งกลุ่มชาวบ้าน องค์กรชุมชน เสริมความตระหนักรู้ของชุมชน ร่วมกับการรณรงค์และการเคลื่อนไหวทางสังคม
- ส่งเสริมให้ชุมชนที่เป็นเจ้าของปัญหาร่วมคิด ตัดสินใจแก้ปัญหาเอง
- มุ่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมหภาค แต่ทำงานเคลื่อนไหวในพื้นที่เล็ก ๆ เฉพาะถิ่น
- มุ่งสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในรูปแบบงานบำบัดเชิงลึก
9.3 รูปแบบสวัสดิการสังคมโดยภาคธุรกิจเอกชน
- ส่วนใหญ่เป็นการให้สวัสดิการแก่พนักงานในบริษัท โรงงาน ตามการคุ้มครองของกฎหมาย แรงงาน
9.4 รูปแบบสวัสดิการแบบพหุลักษณ์
- หลักการสำคัญของรูปแบบพหุลักษณ์ เป็นรูปแบบความร่วมมือของพหุภาคี ใช้ฐานความรู้จาก
สหวิชาชีพ ผ่านการผสมผสานจากหลาย ๆ วิธี ก่อให้เกิดรูปแบบที่หลากหลาย เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์
สวัสดิการชุมชนเพื่อกลุ่มผู้ประสบปัญหาทางสังคม สวัสดิการกองทุนวันละบาท ฯลฯ
- เน้นการมีส่วนร่วมในทุกระดับของภาคีทุกภาคส่วน เน้นการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม เสมอภาค และบริการที่จัดให้ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนระหว่างความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกันและมนุษย์กับ ธรรมชาติ
9.5 รูปแบบสวัสดิการแบบท้องถิ่น
- เป็นการจัดสวัสดิการภายใต้การถ่ายโอนอำนาจและความรับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมตาม
พรบ.กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น พ.. 2542
- เป็นสวัสดิการที่มีการผสมผสานรูปแบบของสวัสดิการเชิงสถาบันในการจัดการเบี้ยยังชีพให้แก่ กลุ่มเป้าหมาย การจัดโครงการอาหารกลางวัน ฯลฯ กับการจัดสวัสดิการสังคมของชุมชนในรูปแบบที่แต่ละ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการ
10. ข้อเสนอต่อการพัฒนากลไกระดับต่าง ๆ
10.1 กลไกระดับนโยบาย
10.1.1 พัฒนานโยบายสวัสดิการสังคมให้เป็นนโยบายสาธารณะ
10.1.2 การสร้างฐานนโยบายจากงานวิจัยโดยการตั้งคณะทำงานกำหนดประเด็นศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน
10.1.3 ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เพื่อให้เกิดกลไกการคุ้มครองสวัสดิการ ชุมชนโดยคนในชุมชนเอง
10.1.4 การรวมกลุ่มเครือข่ายภาคีให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ผ่านกลไกการ ประชุมเวทีสังเคราะห์ วิเคราะห์ต่าง ๆ
10.1.5 การสร้างและการพัฒนาเครื่องมือ ระบบข้อมูลเพื่อประเมินและตรวจสอบการตัดสินใจ
10.2 กลไกระดับการบริหารจัดการ
10.2.1 การจัดตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ระดับต่าง ๆ ที่มีการกระจายอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ กระจายงบประมาณที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติงานตามนโยบายได้อย่างคล่องตัว
10.2.2 การดำเนินการยกร่างกฎหมาย มาตรการ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อน การปฏิบัติที่เป็นจริง และควรกำหนดมาตรการที่หลากหลาย เช่น มาตรการการกำหนด บังคับ มาตรการ สร้างแรงจูงใจมาตรการที่ให้ทางเลือก
10.2.3 การสำรวจ จัดทำแผนที่ทรัพยากร แผนที่เครือข่ายในพื้นที่ชุมชน เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็ง ของชุมชนและเพื่อประโยชน์ในการประสานงานร่วมกัน
10.2.4 การจัดตั้งกองทุนดำเนินการและกลไกการพัฒนากองทุนให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
10.2.5 การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมถึงการสร้างกลไกพัฒนาศักยภาพของ องค์กรปกครองท้องถิ่น ประชาคมในชุมชนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ
10.2.6 การบริหารจัดการระบบงาน ผ่านการประเมินผลในระบบเปิด
10.3 กลไกการดำเนินงาน
10.3.1 การสร้างและขยายระบบอาสาสมัครเพื่อสังคม
10.3.2 การจัดตั้งศูนย์ประสานงานทางสังคมในชุมชน เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลปัญหาทางสังคม และสร้างระบบส่งต่อ
10.3.3 การจัดเวทีถอดบทเรียนเพื่อสร้างขุดความรู้ในการขับเคลื่อนงานสวัสดิการสังคมร่วมกับภาคี ทางวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
10.3.4 การเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรบริการแบบครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จ
10.3.5 การเสริมสร้างศักยภาพการให้บริการแบบสหวิชาชีพและการพัฒนากลไกประสานงานต่าง ๆให้สามารถทำงานในลักษณะพหุมิติได้อย่างลึกซึ้งขึ้น

11. ทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทยในอนาคต
1. ทิศทางของงานสวัสดิการสังคมในอนาคตจะเริ่มเข้าสู่รูปแบบพหุลักษณ์มากขึ้น คือ
1.1 มีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายตามวิถีแห่งวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ หลักศาสนาของ แต่ละกลุ่ม ชุมชน เชื้อชาติ
1.2 เน้นความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เช่น องค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรชุมชน องค์กรท้องถิ่น ซึ่งองค์กรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับประเด็นปัญหา และพื้นที่และมีความพร้อม ที่จะเข้าร่วมการจัดบริการสวัสดิการสังคมบนความสัมพันธ์ที่เป็นเครือข่ายงาน มากกว่าความสัมพันธ์แบบ การขึ้นต่อ
1.3 เน้นวิธีการทำงานที่ผสมผสานหลายวิธีการ ตามความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละที่
1.4 มีลักษณะการทำงานที่ตอบสนองความต้องการและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในหลายมิติ
และเชื่อมโยงอย่างเป็นบูรณาการ ตั้งแต่มิติการบำบัด แก้ไขปัญหา การฟื้นฟูสภาพการดูแลในระยะกลาง
การป้องกัน คุ้มครองและพัฒนาในระยะยาว
2. ทิศทางสวัสดิการที่จัดโดยรัฐ ยังคงบทบาทนำในการจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ควบคู่กับการจัดสวัสดิการ ภาคบังคับ เช่น การประกันสุขภาพ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและภาคบังคับ การให้บริการด้าน สาธารณูปโภค บริการสาธารณะที่เป็นความจำเป็นพื้นฐาน และเป็นความมั่นคงของชีวิต
3. สวัสดิการสังคมกระแสรอง นับเป็นกระแสทางเลือกที่มีทิศทางเริ่มก่อตัวอย่างเข้มแข็งและคาดว่าจะมี พลังการเคลื่อนไหวทางสังคมที่กว้างขวางในระยะยาว เช่น
3.1 สวัสดิการชุมชน เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถิ่น สร้างระบบช่วยเหลือกันเอง หรือกำหนดรูปแบบทางสวัสดิการของชุมชนเอง บางครั้งอาจมีผู้ให้นิยามว่าสวัสดิการชาวบ้าน
3.2 สวัสดิการพื้นถิ่น เกิดจากการให้ความช่วยเหลือที่ผ่านความเชื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่นถึงคุณค่าทาง วัฒนธรรม ประเพณี บนฐานรากความเอื้ออาทร และวัฒนธรรมเกื้อกูลในชุมชน เช่น การทำบุญสลากภัต
ทานทอด ในพื้นถิ่นทางเหนือ การทำทานซากาต ในพื้นที่ชุมชนมุสลิม การเลี้ยงผีในชุมชนชาติพันธุ์บน พื้นที่สูง เป็นต้น
4. บทบาทของหน่วยงานรัฐจะถูกปรับเปลี่ยนไป จากบทบาทเจ้าของไปสู่บทบาทการเป็นเจ้าภาพ
ที่ทำหน้าที่หนุนช่วย เอื้ออำนวยความสะดวก สร้างและพัฒนาฐานความรู้ กำหนดนโยบายและวาง หลักเกณฑ์มาตรฐานการประเมินผลในระบบเปิดแทน
12. ข้อเสนอต่อทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมในระยะสั้น
1. การจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบสวัสดิการภาครัฐ ต้องยึดหลักความเป็นธรรม ทั่วถึงเท่าเทียมบนฐาน ความสัมพันธ์ที่เสมอภาคระหว่างผู้ให้บริการ ภาคีหุ้นส่วน และผู้ประสบปัญหา
2. องค์การที่ให้บริการสวัสดิการ มีความจำเป็นในการปฏิรูปวัฒนธรรมการให้บริการ การพัฒนาศักยภาพ องค์การ ระบบบริหารจัดการ ด้วยกลไกการประสานงาน การสร้างระบบเครือข่าย การกำหนดมาตรฐาน ตัวชี้วัด เพื่อประเมินคุณภาพที่ชัดเจน
3. องค์การสวัสดิการสังคม ต้องเร่งการพัฒนาจิตสำนึกของบุคลากรในระดับลึก ทั้งในด้านที่มีจิต สวัสดิการ มีทัศนคติต่อกลุ่มประชากรเจ้าของปัญหาในด้านการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงการให้ คุณค่ากับการพิทักษ์สิทธิ ที่สะท้อนคุณธรรม จริยธรรมของนักวิชาชีพที่ทำงานกับมนุษย์
4. การให้คุณค่ากับระบบประเมินผล ระบบตรวจสอบ ที่มีความโปร่งใส เป็นธรรม และมีกระบวนการและ เครื่องมือที่ชัดเจนในการให้ตรวจสอบ และทำให้การประเมินผลเป็นระบบเปิด
5. ส่งเสริมการสร้างฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายทั้งในระดับพื้นที เขต จังหวัดและระดับประเทศให้มีความ ทันสมัย เท่าทันสถานการณ์ และพัฒนาข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบเพื่อยกระดับให้เป็น ฐานความรู้ และพลังปัญญาในการแก้ปัญหาสังคมอย่างมีเป้าหมาย
6. การสร้างและการขยายการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ในกลุ่มภาคีที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิด เครือข่ายทางสังคมร่วมกันในระยะยาว
7. การบริหารกระบวนการพัฒนา โดยเน้นการพัฒนาประชาชนเจ้าของปัญหาอย่างเป็นบูรณาการ ผ่าน รูปแบบที่หลากหลายจากความร่วมมือของพหุภาคี
8. การพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมในพื้นที่ ชุมชน
9. การขยายระบบอาสาสมัครสวัสดิการสังคมและการพัฒนาเป็นเครือข่ายในประเด็นต่าง ๆ
10. การขยายการมีส่วนร่วมกับองค์กรเอกชนภาคธุรกิจ พาณิชยกรรม
11. การเสริมความเข้มแข็งขององค์กรในฐานะตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ
12. การเปลี่ยนพันธกิจและภารกิจของหน่วยงานรัฐในฐานะหน่วยปฏิบัติตรงเป็นหลัก
13. ข้อเสนอต่อทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมในระยะยาว
13.1 องค์การสวัสดิการสังคมที่มีภารกิจให้บริการโดยตรงกับมนุษย์ ควรทำหน้าที่สะท้อนผลกระทบเชิง นโยบายของการพัฒนาประเทศ หรือการเฝ้าระวังภัยคุกคามใหม่ ๆ ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
13.2 การสร้างระบบเฝ้าระวังทางสังคมที่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ
13.3 การพัฒนาศักยภาพของนักวิชาชีพ และสมาคมวิชาชีพให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน การร่วม กำหนดนโยบายอย่างกว้างขวาง
13.4 การพัฒนางานวิจัยทางสวัสดิการสังคม และใช้งานวิจัยเป็นฐานในการกำหนดนโยบาย โดยความ ร่วมมือกับสถาบันวิขาการและภาคีต่าง ๆ
13.5 การสร้างแผนกลยุทธศาสตร์งานสวัสดิการสังคมในระยะยาว ที่เน้นการจัด ปรับ และการ เปลี่ยนแปลงในด้านระบบ โครงสร้าง มาตรการและกลไกใหม่ ๆ มากกว่าการจัดการปัญหาแบบสงเคราะห์ รายบุคคลโดยเน้นสถาบันเป็นหลัก
13.6 การจัดทำแผนพัฒนากลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะให้มีความชัดเจนขึ้น
13.7 การมุ่งทำงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในหลาย ๆ ระดับ
13.8 การจัดเวทีจับตา เฝ้าระวังทางสังคม2
กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม หรือการประกันสังคม
                     1. อนุสัญญาฉบับที่ 102 การประชุมเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำของการประกันสังคม ปี ค.ศ. 1952 เมื่อวันที่ 28มิถุนายน 1952 โดยมีการใช้บังคับเมื่อวันที่  27 เมษายน 1955 เป็นการประชุมสามัญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในระหว่าง Having been convened at Geneva by the Governing Body of the International Labour Office, and having met in its Thirty-fifth Session on 4 มีการประชุมที่กรุงเจนีวา โดยสภาการปกครองของสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศตัดสินใจได้มีการยอมรับข้อเสนอบางประการเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของการประกันสังคม
                     2. อนุสัญญาฉบับที่ 130 ว่าด้วยประโยชน์ทดแทนการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ ค.ศ. 1969การประชุมสามัญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในระหว่าง Having been convened at Geneva by the Governing Body of the International Labour Office, and having met in its Fifty-third Session on 4 June 1969, and มีการประชุมที่กรุงเจนีวาโดยสภาการปกครองของสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศและเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1969 และHaving decided upon the adoption of certain proposals with regard to the revision of the Sickness Insurance (Industry) Convention, 1927, and the Sickness Insurance (Agriculture) Convention, 1927, which is the fifth item on the agenda of the session, and ได้มีตัดสินใจยอมรับข้อเสนอบางประการเกี่ยวกับการและการแก้ไขของความเจ็บป่วยประกันภัย (Industry) อนุสัญญาค.ศ.1927, และเจ็บป่วยประกันภัย (เกษตร) อนุสัญญาปี ค.ศ. 1927 ซึ่งเป็นที่ห้ารายการในวาระการประชุม Having determined that these proposals shall take the form of an international Convention, กำหนดให้มีข้อเสนอเหล่านี้จะต้องใช้เวลาการประชุมระหว่างประเทศ วันที่ 25 มิถุนายน 1969 การประชุมดังต่อไปนี้ซึ่งอาจจะอ้างเป็นแพทย์และการดูแลสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย อนุสัญญา 1969
                     3. ข้อแนะฉบับที่ 134 ว่าด้วยประโยชน์ทดแทนการเจ็บป่วยและการรักษาทางการแพทย์ ค.ศ. 1969 The General Conference of the International Labour Organisation, การประชุมสามัญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในระหว่างHaving been convened at Geneva by the Governing Body of the International Labour Office, and having met in its Fifty-third Session on 4 June 1969, andการประชุมที่กรุงเจนีวาโดยสภาการปกครองของสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศและในช่วงที่ห้าสิบสามของวันที่ 4 มิถุนายน 1969 และ Having decided upon the adoption of certain proposals with regard to the revision of the Sickness Insurance (Industry) Convention, 1927, and the Sickness Insurance (Agriculture) Convention, 1927, which is the fifth item on the agenda of the session, and ตัดสินใจมีการยอมรับข้อเสนอบางประการเกี่ยวกับการและการแก้ไขของความเจ็บป่วยประกันภัย (Industry) อนุสัญญา 1927, และเจ็บป่วยประกันภัย (เกษตร) อนุสัญญาปี ค.ศ. 1927 ซึ่งเป็นที่ห้ารายการในวาระการประชุม กำหนดให้มีข้อเสนอเหล่านี้จะต้อง 1969 ฟอร์มของคำแนะนำการเสริมแพทย์ดูแลและการเจ็บป่วยประโยชน์อนุสัญญา adopts this twenty-fifth day of June of the year one thousand nine hundred and sixty-nine, the following Recommendation, which may be cited as the Medical Care and Sickness Benefits Recommendation, 1969:  วัน 25 มิถุนายนค.ศ. 1969, คำแนะนำต่อไปนี้ซึ่งอาจจะอ้างเป็นแพทย์ดูแลและการเจ็บป่วยประโยชน์คำแนะนำ, 1969
                     4. อนุสัญญาฉบับที่ 128 ว่าด้วยประโยชน์ทดแทนการทุพพลภาพ  ชราภาพและผู้มีชีวิตอยู่ ค.ศ. 1967การประชุมสามัญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในระหว่างHaving been convened at Geneva by the Governing Body of the International Labour Office, and having met in its Fifty-first Sessมีการประชุมที่กรุงเจนีวาโดยสภาการปกครองของสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศและมีพบในช่วงที่ห้าสิบเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 มิถุนายน 1967 และHaving decided upon the adoption of certain proposals with regard to the revision of the Old-Age Insurance (Industry, etc.) Convention, 1933, the Old-Age Insurance (Agriculture) Convention, 1933, the Invalidity Insurance (Industry, etc.) Convention, 1933, the Invalidity Insurance (Agriculture) Convention, 1933, the Survivors' Insurance (Industry, etc.) Convention, 1933, and the Survivors' Insurance (Agriculture) Convention, 1933, which is the fourth item on the agenda of the session, and ตัดสินใจได้มีการยอมรับข้อเสนอบางอย่างเกี่ยวกับ) การปรับปรุงอายุได้ประกันภัย
    
      2แนวคิดทฤษฎีการจัดสวัสดิการสังคม,จากเว็บไซต์www.mhsdc.orgbrumainunit2.pdf,วันที่ 19 กันยายน 2553

(อุตสาหกรรมและอื่น ๆ ) อนุสัญญา 1933, อายุได้ประกันภัย (เกษตร)อนุสัญญา 1933, ทุพพลภาพประกันภัย (อุตสาหกรรมและอื่น ๆ อนุสัญญา 1933, ทุพพลภาพประกันภัย (เกษตร) อนุสัญญา, 1933, ผู้รอดชีวิต'ประกันภัย (อุตสาหกรรมและอื่น ๆ ) อนุสัญญา 1933, และผู้รอดชีวิต'ประกันภัย (เกษตร) อนุสัญญา 1933, ซึ่งเป็นรายการที่สี่ในระเบียบวาระการประชุมของ วาระและ Having determined that these proposals shall take the form of an international Convention, กำหนดให้มีข้อเสนอเหล่านี้จะต้องใช้เวลาการประชุมระหว่างประเทศวันที่ 29 adopts this twenty-ninth day of June of the year one thousand nine hundred and sixty-seven the following Convention, which may be cited as the Invalidity, Old-Age and Survivors' Benefits Conv;yooวน   มิถุนายน 1967 การประชุมดังต่อไปนี้ซึ่งอาจจะอ้างเป็นทุพพลภาพ, อายุได้และผู้รอดชีวิต'ประโยชน์ อนุสัญญา 1967
                     5. ข้อแนะฉบับที่ 131 ว่าด้วยประโยชน์ทดแทนทุพพลภาพชราภาพและผู้มีชีวิตอยู่ ค.ศ. 1967การประชุมสามัญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในระหว่าง Having been convened at Geneva by the Governing Body of the International Labour Office, and having met in its Fifty-first Session on 7 June 1967, and มีการประชุมที่กรุงเจนีวาโดยสภาการปกครองของสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศและมีพบในช่วงที่ห้าสิบเป็นครั้งแรกในวันที่ 7 มิถุนายน 1967 และ Having decided upon the adoption of certain proposals with regard to the revision of the Old-Age Insurance (Industry, etc.) Convention, 1933, the Old-Age Insurance (Agriculture) Convention, 1933, the Invalidity Insurance (Industry, etc.) Convention, 1933, the Invalidity Insurance (Agriculture) Convention, 1933, the Survivors' Insurance (Industry, etc.) Convention, 1933, and the Survivors' Insurance (Agriculture) Convention, 1933, which is the fourth item on the agenda of the session, and ตัดสินใจได้มีการยอมรับข้อเสนอบางอย่างเกี่ยวกับ) การปรับปรุงอายุได้ประกันภัย (อุตสาหกรรมและอื่น ๆ ) อนุสัญญา 1933, อายุได้ประกันภัย (เกษตร) อนุสัญญา1933, ทุพพลภาพประกันภัย (อุตสาหกรรมและอื่น ๆ อนุสัญญา1933, ทุพพลภาพประกันภัย (เกษตร) อนุสัญญา, 1933, ผู้รอดชีวิต'ประกันภัย (อุตสาหกรรมและอื่น ๆ ) อนุสัญญา1933, และผู้รอดชีวิต'ประกันภัย (เกษตร) อนุสัญญา 1933, ซึ่งเป็นรายการที่สี่ในระเบียบวาระการประชุมของ วาระและHaving determined that these proposals shall take the form of a Recommendation supplementing the Invalidity, Old-Age and Survivors' Benefits Convention, 1967, กำหนดให้มีข้อเสนอเหล่านี้จะต้องใช้เวลา 1967 แบบฟอร์มของการเสริมคำแนะนำทุพพลภาพ, อายุได้และผู้รอดชีวิต'ประโยชน์อนุสัญญา adopts this twenty-ninth day of June of the year one thousand nine hundred and sixty-seven, the following Recommendation, which may be cited as the Invalidity, Old-Age and Survivors' Benefits Recommendation, 1967: adopts ปี 29 นี้วันของเดือนมิถุนายนของ 1967, คำแนะนำต่อไปนี้ซึ่งอาจจะอ้างเป็นทุพพลภาพ, อายุได้และผู้รอดชีวิต'ประโยชน์คำแนะนำ, 1967
                     6. อนุสัญญาฉบับที่ 121 ว่าด้วยประโยชน์ทดแทนการประสบอันตรายจากการทำงาน ค.ศ. 1964การประชุมสามัญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในระหว่าง Having been convened at Geneva by the Governing Body of the International Labour Office, and having met in its Forty-eighth Session on 17 June 1964, and มีการประชุมที่กรุงเจนีวาโดยสภาการปกครองของสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศและมีพบในช่วงที่สี่สิบแปดในวันที่ 17 มิถุนายน 1964 และHaving decided upon the adoption of certain proposals with regard to benefits in the case of industrial accidents and occupational diseases, which is the fifth item on the agenda of the session, and ตัดสินใจได้มีการยอมรับข้อเสนอบางอย่างเกี่ยวกับผลประโยชน์ในกรณีของการเกิดอุบัติเหตุอุตสาหกรรมและโรคจากการทำงานซึ่งเป็นรายการที่ห้าในช่วงวาระการและHaving determined that these proposals shall take the form of an international Convention, กำหนดให้มีข้อเสนอเหล่านี้จะต้องใช้เวลาการประชุมระหว่างประเทศของรูปแบบ, adopts this eighth day of July of the year one thousand nine hundred and sixty-four the following Convention, which may be cited as the Employment Injury Benefits Convention, 1964: adopts ปีที่แปดวันนี้ของเดือนกรกฎาคม 1964 การประชุมดังต่อไปนี้ซึ่งอาจมีการอ้างเป็นสิทธิประโยชน์การจ้างงานได้รับบาดเจ็บ อนุสัญญา1964
                     7.  ข้อแนะฉบับที่ 121 ว่าด้วยประโยชน์ทดแทนการประสบอันตรายจากการทำงาน ค.ศ. 1964การประชุมสามัญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในระหว่าง Having been convened at Geneva by the Governing Body of the International Labour Office, and having met in its Forty-eighth Session on 17 June 1964, and มีการประชุมที่กรุงเจนีวาโดยสภาการปกครองของสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศและมีพบในช่วงที่สี่สิบแปดในวันที่ 17 มิถุนายน 1964 และ
Having decided upon the adoption of certain proposals with regard to benefits in the case of industrial accidents and occupational diseases, which is the fifth item on the agenda of the session, and ตัดสินใจได้มีการยอมรับข้อเสนอบางอย่างเกี่ยวกับผลประโยชน์ในกรณีของการเกิดอุบัติเหตุอุตสาหกรรมและโรคจากการทำงานซึ่งเป็นรายการที่ห้าในช่วงวาระการและ Having determined that these proposals shall take the form of a Recommendation supplementing the Employment Injury Benefits Convention, 1964, กำหนดให้มีข้อเสนอเหล่านี้จะต้อง 1964 ฟอร์มของคำแนะนำการเสริมการจ้างงานได้รับบาดเจ็บประโยชน์ของอนุสัญญา adopts this eighth day of July of the year one thousand nine hundred and sixty-four, the following Recommendation, which may be cited as the Employment Injury Benefits Recommendation, 1964: adopts ปีที่แปดวันนี้ของเดือนกรกฎาคมของ 1964, คำแนะนำต่อไปนี้ซึ่งอาจจะอ้างเป็นประโยชน์คำแนะนำการจ้างงานได้รับบาดเจ็บ, 19643
กฎหมายประกันสังคมของประเทศไทย
ในประเทศไทยกองทุนเงินทดแทน นับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงานทั้งนี้กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 โดยในปีแรกของ การให้ความคุ้มครอง จะครอบคลุมเฉพาะ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด ทั่วประเทศใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2531จวบจนกระทั่งได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมาประเทศไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพและการว่างงานเฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ4
     พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓บังคับแก่นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไปพ.ศ. ๒๕๔๕มาตรา ๓ ให้ใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.. ๒๕๓๓ บังคับแก่นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
                     เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ฉบับนี้ คือเนื่องจากในปัจจุบัน พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.. ๒๕๓๓ ใช้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ทำให้ลูกจ้างซึ่งทำงานให้นายจ้างที่มีลูกจ้างน้อยกว่าสิบคนยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามระบบประกันสังคม ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้แก่ลูกจ้างอย่างทั่วถึงและโดยที่มาตรา๑๐๓วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๓๗ บัญญัติให้การจะบังคับใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.. ๒๕๓๓ แก่นายจ้างที่มีลูกจ้างน้อยกว่าสิบคนในท้องที่ใดและเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้


 

     3กำจร  นากชื่น,มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ,กฎหมายแรงงานและการอุตสาหกรรมชั้นสูง ,นนทบุรี พิมพ์ครั้งที่ 1 2552  หน้า (1-22)-(1-23)
     4สำนักงานประกันสังคม,การประกันสังคมในประเทศไทย ,จากเว็บไซต์ www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=141 19 กันยายน 2553
บทที่ 3
เปรียบเทียบกฎหมายการจัดสวัสดิการแรงงานเกษตรของประเทศไทยและต่างประเทศ
            (1) การประกันสังคมของประเทศไทย
     ในประเทศไทยกองทุนเงินทดแทนนับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทยที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงานทั้งนี้กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 โดยในปีแรกของ การให้ความคุ้มครอง จะครอบคลุมเฉพาะ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายความคุ้มครองออกไปจนครบทุกจังหวัด ทั่วประเทศใน วันที่ 1 กรกฎาคม 2531
     จวบจนกระทั่งได้มีการผลักดันพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน 2533 เป็นต้นมาประเทศไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบโดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตายทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆแต่ก็เป็นการคุ้มครองเพียงแรงงานในระบบอุตสาหกรรมของบริษัทเอกชน และพนักงานราชการชองหน่วยงานราชการเท่านั้น ซึ่งในส่วนของแรงงานเกษตรหรือแรงงานนอกระบบอื่นเช่น แรงอิสระแบบรับงานไปทำที่บ้าน แรงประมง ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม การประกันสังคมของประเทศไทยจึงยังไม่ครอบคลุมแรงงานทุกประเภท5
                    (2) การประกันสังคมของประเทศโปรตุเกส
     ระบบประกันสังคมของประเทศโปรตุเกส มีลักษณะเป็นโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม(Social Safety Net) ซึ่งจะรองรับและให้ความคุ้มครองแก่
 1.พลเมืองของประเทศ
   2.ผู้ที่พำนักในประเทศและผู้ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากโครงการใด ๆ เลย
   3.พลเมืองของประเทศยุโรปที่เข้ามาทำงานในประเทศโปรตุเกส
     โดยมีทั้งระบบที่เป็นการเรียกเก็บเงินสมทบ และแบบไม่เรียกเก็บเงินสมทบ
     ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานและมีงานทำส่วนมากจะได้รับความคุ้มครองจากโครงการประกันสังคมหลัก (General Social Security Schemes) เป็นระบบบังคับลูกจ้างและ
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ส่วนกลุ่มคนในภาคเกษตร คนงานในเหมืองแร่ จะมีโครงการเฉพาะสำหรับดูแลกลุ่มคนกลุ่มนี้แยกต่างหาก (สำนักงานประกันสังคม
2548: 9)
                     
      5สำนักงานประกันสังคม,การประกันสังคมในประเทศไทย,จากเว็บไซต์www.sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=141 วันที่ 19 กันยายน 2553

     ระบบที่มีลักษณะสมัครใจ(Voluntary Schemes) ใช้กับพลเมืองของประเทศที่มีงานทำ แต่ไม่ได้รับความคุ้มครองจากโครงการที่มีลักษณะเป็นการบังคับ รวมถึงพลเมืองของประเทศโปรตุเกสซึ่งทำงานในต่างประเทศและไม่ได้รับการคุ้มครองจากข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้งแรงงานอพยพที่พำนักในประเทศโปรตุเกสไม่น้อยกว่า 12 เดือน และต้องมีหนังสืออนุญาตการทำงาน (Work Permit)
     ผู้ประกอบอาชีพอิสระสามารถเลือกความคุ้มครองได้จาก 2 แผน ซึ่งเป็นประโยชน์ทดแทนที่แตกต่างกัน คือ แผนความคุ้มครองแบบบังคับให้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ ทุพพลภาพ ชราภาพ และตาย ในขณะที่แผนความคุ้มครองแบบสมัครใจ ให้ประโยชน์ทดแทนเฉพาะตัวเงิน (Cash Benefit ) สำหรับกรณีเจ็บป่วยเท่านั้น แต่มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการแบบสมัครใจมากกว่า
แบบบังคับ ทั้งนี้ผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องแสดงรายได้ ณ สรรพากรเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการคำนวณเงินสมทบโดยกำหนดเป็นกลุ่มรายได้ ยังมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อการคำนวณเงินสมทบและประโยชน์ทดแทนต่าง ๆ แต่เมื่อผู้ประกอบอาชีพอิสระมีรายได้ลดลงสามารถแจ้งเปลี่ยนระดับรายได้ได้ทีละขั้น ทั้งนี้ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ยื่นขอปรับเปลี่ยนรายได้ต้องมีอายุไม่เกิน
55 ปี ณ วันที่เปลี่ยนระดับรายได้มีผลบังคับใช้
     การจะควบคุมผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระให้ปฏิบัติตามข้อบังคับเป็นเรื่องยาก ดังนั้นต้องมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพทางกฎหมายในการประสานงานระหว่างกรมสรรพากร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาษี และด้านการจัดการของโครงการประกันสังคม
     (3) การประกันสังคมของประเทศอังกฤษ
     ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่มีความเอกภาพของระบบประกันสังคมและการสังคมสงเคราะห์ ในการสร้างความมั่นคงทางสังคมที่รัฐต้องรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกคนเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของกองทุนในระยะยาว และด้วยระบบที่เป็นเอกภาพดังกล่าว รัฐจึงไม่จำเป็นต้องจัดโครงสร้างองค์กรให้ยุ่งยาก เพียงกระจายงานเก็บเงินสมทบและจ่ายประโยชน์ทดแทนออกจากกัน ในรูปของ Agency ซึ่งเป็นหน่วยงานตัวแทนซึ่งมีความคล่องตัวและเป็นอิสระในการบริการงานระดับหนึ่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาบริการแก่ประชาชนให้รวดเร็วเป็นหลัก
     แนวทางการประกันสังคมของประเทศอังกฤษ (Social Security Program Throughout the world .1999: 372)
     ประเทศอังกฤษจะให้ความคุ้มครองกับประชากรทุกคน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชน เป็นการจ่ายเงินรายได้ที่ขาดหายไปในกรณีที่ไม่อาจทำงานหาเลี้ยงครอบครัวได้ รวมถึงช่วงที่ว่างงานหรือเมื่อต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเจ็บป่วยและทุพพลภาพ รวมถึงการให้ความคุ้มครองในเรื่องบำนาญชราภาพ เจ็บป่วย พิการ ว่างงาน เป็นหม้าย สงเคราะห์บุตร หรือมีรายได้ต่ำมาก
     ประโยชน์ทดแทนบางประเภทขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกอบอาชีพอิสระให้แก่กองทุน โดยรัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง มีการให้ความคุ้มครองกรณีชราภาพ ทุพพลภาพ และตาย มีการบริหารงาน โดยกรรมการประกันสังคมที่เป็นตัวแทนจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเลี้ยงชีพ ผลประโยชน์ตอบแทนและตรวจสอบเงินรายได้ที่จะจ่ายให้ผ่านทางเครือข่ายส่วนกลางและสำนักงานจังหวัด ผู้แทนเก็บเงินบำรุงภายในประเทศทำหน้าที่เก็บเงิน


     การคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร มีการบริหารองค์กรโดยกรรมการประกันสังคมดำเนินการเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นเงินสด โดยผ่านทางสำนักงานจังหวัดและ
สำนักงานท้องถิ่น กรมสุขภาพดำเนินการให้บริการทางการแพทย์ผ่านหน่วยงานบริการสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานบริการสุขภาพประกอบด้วย
14 องค์การสุขภาพระดับภาคและมีองค์การสุขภาพระดับท้องถิ่นจำนวนมาก
     การคุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงาน มีการบริหารงานโดยกรรมการประกันสังคมที่เป็นตัวแทนจ่ายประโยชน์ตอบแทน ดำเนินการจ่ายช่วยเหลือเลี้ยงชีพและตรวจสอบเงินรายได้ที่จะจ่ายให้ผ่านเครือข่ายส่วนกลางและสำนักงานจังหวัด
     การคุ้มครองกรณีว่างงาน หน่วยงานดำเนินงานเก็บประวัติของเงินสมทบที่ส่งเข้ากองทุนและหน่วยเงินตัวแทนในการจ่ายผลประโยชน์จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน
     การสงเคราะห์ครอบครัว กรรมการประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์กลางเงินที่จะจ่ายให้โดยผ่านหน่วยงานตัวแทน
     โดยสรุปการประกันสังคมในประเทศอังกฤษจะมีความเป็นเอกภาพในระบบประกันสังคม โดยอาศัยระบบข้อมูลเป็นส่วนสำคัญ การเก็บเงินสมทบและจ่ายประโยชน์ทดแทนสำหรับแรงงานนอกระบบจะแยกออกจากกันในรูปแบบของ Agency หรือเป็นหน่วยงานตัวแทนซึ่งมีความคล่องตัวและเป็นอิสระในการบริหารงานระดับหนึ่งเพื่อให้เกิดการพัฒนาบริการได้รวดเร็ว
     (4) การประกันสังคมของสาธารณรัฐเกาหลี
     สาธารณรัฐเกาหลีเป็นประเทศที่จัดบริการสาธารณะด้านประกันสังคมที่มีการจัดองค์กรเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของโดยการจัดองค์กรในลักษณะนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดว่ามีการเตรียมการในเรื่องของการดูแลกองทุนให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารเงินจำนวนมากและให้ความสำคัญของความคล่องตัวของการลงทุนในอนาคต (Social Security Program Throughout the world .1999: 206)
     แนวทางการจ่ายเงินประกันสังคมในสาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นการบริหารงานแบบ NPC (National Pension Corporation) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีลักษณะของบริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ ภายใต้การดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บเงินสมทบจากบุคคลทั่วไป ที่ประกอบอาชีพอิสระ นายจ้าง ลูกจ้าง เพื่อให้ความคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ ตามกฎหมายประกันสังคม โดยจะบังคับใช้กับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และแบบสมัครใจสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ


     รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมจะเป็นผู้กำหนดนโยบายการลงทุน NPC จะเป็นผู้ดูแลและบริหารเงินกองทุนด้วยตนเอง ซึ่งมีหน่วยงาน Fund Operation Research Center ทำหน้าที่วางแผนและวิจัยสถานภาพของกองทุนเพื่อให้กองทุนมีเสถียรภาพ สำหรับการ
เพิ่มอัตราเงินสมทบจะเชิญผู้เชี่ยวชาญทุกด้านเพื่อเป็นหลักประกันว่ากองทุนมีเสถียรภาพ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้สมาชิก
     สาธารณรัฐเกาหลี มีการคุ้มครองแรงงานนอกระบบกรณีชราภาพ ทุพพลภาพ และกรณีตาย โดยรัฐได้จัดทำระบบประกันสังคมในลักษณะของโครงการบำนาญแห่งชาติ ที่มีการบริหารองค์กรโดยบริษัทเงินสำรองเลี้ยงชีพแห่งชาติ ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและกิจการสังคม กรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร อยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและกิจการสังคม สหพันธ์การประกันทางการแพทย์แห่งชาติ
     (5) การประกันสังคมในประเทศฟิลิปปินส์
     ระบบประกันสังคมของประเทศฟิลิปปินส์ให้ความคุ้มครองครอบคลุมประชากรของประเทศ โดยมีกฎหมายให้เข้าร่วมโครงการลักษณะบังคับโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานกับภาคเอกชน ทั้งลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีอายุ 18-60 ปี จะต้องเข้าร่วมโครงการ โดยการให้ความคุ้มครองครอบคลุมประโยชน์ทดแทนในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การประกันชราภาพ ทุพพลภาพ ตาย การประกันสุขภาพ กรณีเจ็บป่วยนอกงานและคลอดบุตร
     แนวทางการประกันสังคมของประเทศฟิลิปปินส์ จะเป็นในลักษณะบังคับ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจของ Social Security System เพราะมีสมาชิกเป็นจำนวนมากที่ไม่จ่ายเงินสมทบ หรือจ่ายน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ในส่วนของประโยชน์ทดแทนจะมีความสัมพันธ์กับการจ่ายเบี้ยประกันหรือเงินสมทบ (ILO.Social Protection. 2001)
     การประกันสังคมของประเทศฟิลิปปินส์ แม้จะมีกฎหมายกำหนดให้ความคุ้มครองครอบคลุมประชากรอย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ระบบประกันสังคมของประเทศฟิลิปปินส์ยังให้ความคุ้มครองไม่ทั่วถึง เนื่องจากขาดความเข้มงวดในการบังคับให้ต้องเข้าเป็นสมาชิกตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ ในส่วนของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการก็มักไม่ค่อยปฏิบัติตามระเบียบ และรัฐเองก็ไม่เข้มงวดกับการบังคับให้ต้องเข้าร่วมโครงการตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ แต่จะเน้นด้านการให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และมองเห็นประโยชน์ ในการเข้าเป็นสมาชิกของโครงการประกันสังคมมากกว่า ดังนั้นเกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ ได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคมจึงยังมีค่อนข้างน้อย6
 
   6 คณะกรรมการสมานฉันแรงงานไทย(คสรท.),จากเว็บไซต์www.gotoknow.org/file/ngaochan/09datalabour.doc,วันที่ 19 กันยายน 2553

บทที่ 4

วิเคราะห์ปัญหาการจัดสวัสดิการแรงงานเกษตรในประเทศไทย

     การจัดสวัสดิการสังคมหรือการจัดให้มีการได้รับความช่วยเหลือในระหว่างการทำงานและหลังจากพ้นจากการทำงานไปแล้วของแรงงานภาคเกษตรในประเทศไทยยังไม่เคยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งทำให้แรงงานเกษตรต้องถูกละเลยจากการช่วยเหลือทางด้านการรักษาพยาบาล ในความเจ็บป่วยจากการทำงาน และไม่ได้รับประโยชน์เมื่อพ้นวัยแรงงานไปแล้วอย่างเช่นแรงงานในระบบที่มีระบบการจ่ายเงินบำนาญหลัง 60 ปีแล้ว หรือมีการจ่ายเงินสมทบมาเป็นเวลาที่กฎหมายกำหนดครบจำนวนปีก็มีสิทธิได้รับบำนาญเป็นเงินจ่ายเป็นเดือนซึ่งเพียงพอต่อการใช้จ่ายในบั้นปลายชีวิตเหมือกับระบบของข้าราชการ ทำให้เกิดความเสมอภาคกันในการได้รับประโยชน์แม้จะต้องเสียเงินที่ต้องจ่ายสมทบในระหว่างการทำงานแต่ก็มีความคุ้มค่าเมื่อมีวัยพ้นการทำงานไปแล้ว
     ในระบบการประกันสังคมมีกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง คือ อนุสัญญาและข้อแนะที่ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามและนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้แรงงานในทุกระบบได้รับประโยชน์ในการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกันและเป็นสากลปฏิบัติ ในประเทศที่เป็นภาคีกับอนุสัญญาแต่ละฉบับซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่
                       สภาพปัญหากฎหมายประกันสังคมของประเทศไทยในส่วนของแรงงานเกษตรหรือแรงงานนอกระบบอื่นเช่น แรงอิสระแบบรับงานไปทำที่บ้าน แรงประมง ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม การประกันสังคมของประเทศไทยจึงยังไม่ครอบคลุมแรงงานทุกประเภท
                       เปรียบเทียบกฎหมายประกันสังคมของต่างประเทศดีกว่าของไทย การประกันสังคมของประเทศโปรตุเกสผู้ประกอบอาชีพอิสระสามารถเลือกความคุ้มครองได้จาก 2 แผน ซึ่งเป็นประโยชน์ทดแทนที่แตกต่างกัน คือ แผนความคุ้มครองแบบบังคับให้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ ทุพพลภาพ ชราภาพ และตาย ในขณะที่แผนความคุ้มครองแบบสมัครใจ ให้ประโยชน์ทดแทนเฉพาะตัวเงิน (Cash Benefit ) สำหรับกรณีเจ็บป่วยเท่านั้น
                       การประกันสังคมของประเทศอังกฤษประโยชน์ทดแทนบางประเภทขึ้นอยู่กับการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกอบอาชีพอิสระให้แก่กองทุน โดยรัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง มีการให้ความคุ้มครองกรณีชราภาพ ทุพพลภาพ และตาย
     การประกันสังคมของสาธารณรัฐเกาหลีมีการคุ้มครองแรงงานนอกระบบกรณีชราภาพ ทุพพลภาพ และกรณีตาย โดยรัฐได้จัดทำระบบประกันสังคมในลักษณะของโครงการบำนาญแห่งชาติ ที่มีการบริหารองค์กรโดยบริษัทเงินสำรองเลี้ยงชีพแห่งชาติ ภายใต้การควบคุมดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและกิจการสังคม กรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร อยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงสาธารณสุขและกิจการสังคม สหพันธ์การประกันทางการแพทย์แห่งชาติ
                       การประกันสังคมในประเทศฟิลิปปินส์มีกฎหมายให้เข้าร่วมโครงการลักษณะบังคับโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานกับภาคเอกชน ทั้งลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีอายุ 18-60 ปี จะต้องเข้าร่วมโครงการ แต่รัฐเองก็ไม่เข้มงวดกับการบังคับให้ต้องเข้าร่วมโครงการตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้  เกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ ได้รับการคุ้มครองจากระบบประกันสังคมจึงยังมีค่อนข้างน้อย 



                                                                                          บทที่ 5
สรุป
     แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมครอบคลุมแรงงานนอกระบบจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยหลายๆฝ่ายร่วมมือกันแก้ไขปัญหาซึ่งสามารถนำแนวทางของต่างประเทศที่มีความเหมาะสมนำมาเป็นต้นแบบมีอยู่อย่างมากมายขาดแต่เพียงการเอาจริงเอาจังของภาครัฐที่จะหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้หมดไปหรือไม่  หากแต่ประโยชน์ของประชาชนผู้ด้อยโอกาสนั้นยังไม่ทำให้เกิดประโยชน์กับผู้มีหน้าที่ จึงยังไม่มีการเหลียวแลจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมสิ่งนี้คงยิ่งกว่าการแก้ไขกฎหมาย  อย่างไรก็ตามกฎหมายประกันสังคมของประเทศไทยก็ยังมีสิ่งที่ต้องแก้ไขให้เกิดความชัดเจนในส่วนของการขยายโอกาสให้แรงงานนอกระบบได้รับประโยชน์เพื่อสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยต่อไป
เสนอแนะ
               ควรออกกฎหมายลูกของกฎหมายประกันสังคมกำหนดให้แรงงานเกษตรได้รับประโยชน์โดยมีการตั้งหน่วยงานคอยตรวจสอบนายจ้างแรงงานภาคเกษตรให้มีการทำประกันสังคมให้กับลูกจ้างในไร่ และควรเพิ่มประกันสังคมให้กันคนทำงานอิสระให้มีโอกาสได้เข้าถึงสวัสดิการยามแก่เฒ่า
                    
                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น