วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กระบวนการยุติธรรมทางเลือก


กระบวนการยุติธรรมทางเลือก

บทนำ
                เหตุผลในการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือก อาจมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้น ลดที่ใช้จ่ายหรือลดจำนวนคดีที่ขึ้นศาลอะไรต่างๆ แต่เหตุผลที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นก็คือ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมซึ่งกระบวนการยุติธรรมทางเลือกก็มีอยู่หลายรูปแบบและหลายระดับ ทำให้เกิดความเหมาะสมกับประชาชนทุกระดับจะได้เลือกที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม รูปแบบที่เหมาะสมกับสถานภาพของตัวเองเช่น ระดับหมู่บ้าน ระดับอำเภอ หรือสถานีตำรวจ สำนักงานอัยการ หรือศาล ซึ่งคงเป็นที่สุดท้ายเมื่อตกลงกันไม่ได้ และมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ ค่าเดินทางในแต่ละครั้ง ซึ่งอาจทำให้คนยากคนจนที่จะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลประสบกับปัญหาความเดือดร้อน หากไม่มีค่าใช้จ่ายดังกล่าวเช่น ค่าจ้างทนายดีๆ ขึ้นอาจส่งผลให้ข้อพิพาทของตนจะต้องแพ้ความแม้ยังไม่มีการพิจารณาคดีกันก็ตาม เพียงเพราะไม่มีเงินหลักกระบวนการยุติธรรมจะยุติธรรมได้อย่างไรซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่เหมือนกัน
                ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยก็คงจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนยากคนจนที่ไม่มีค่าใช้จ่ายที่เพียงพอ ในการต่อสู้คดีในชั้นศาลซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งจะได้รับความยุติธรรมที่เหมาะสมและสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยดีและไม่มุ่งหวังเพียงผลแพ้ชนะซึ่งตรงกันข้ามจะทำให้สังคมเกิดความแตกแยกซึ่งจะทำให้เกิดข้อพิพาทต่อๆไปอีกได้อย่างไม่มีความสงบสุขในสังคม

เนื้อเรื่อง
                กระบวนการยุติธรรมทางเลือกเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2547 ในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวศน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เป็นเพียงแนวคิดที่ต้องการหนทางแก้ไขปัญหาคดีลกโรงลกศาล ซึ่งพิจารณาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของคดีในแต่ละปีจึงทำให้เกิดแนวคิดนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
                อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญการให้คนยากคนจนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยไม่ต้องเสียค่าช้าจ่ายมากอย่างเช่นในศาลซึ่งมีค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมศาล ค่าเดินทางไปขึ้นศาล ค่าจ้างทนายว่าความ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอนแล้วแต่ความซับซ้อนของคดีซึ่งคนยากคนจนถ้าไม่มีเงินต่อสู้คดีก็จะต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อนำเงินมาใช้ในการต่อสู้คดี ซึ่งอาจเป็นปัญหาอย่างไม่หยุดหยอนเพราะอาจถูกฟ้องร้องตามสัญญาเงินกู้ขึ้นมาได้อีก ซึ่งก็จะทำให้เกิดเป็นคดีซ้ำซ้อนอย่างไม่จบสิ้น
                ประเด็นที่สองที่สำคัญไม่แพ้กันคือการพิจารณาที่นานทำให้กระบวนการยุติธรรมอาจถูกบิดเบือนเพราะขาดข้อเจจริงที่สำคัญในคดีไป เพราะเหตุผลข้อจำกัดด้านความจำของคนเรามีความจำต่อข้อเท็จจริงได้เพียงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้นซึ่งเมื่อพ้นระยะเวลานั้นไปก็จะทำให้ลืมจำอะไรไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องของตัวเองทำให้ข้อเท็จจริงเกิดความคลาดเคลื่อนและกระบวนการยุติธรรมจึงอาจไม่ยุติธรรมเท่าความยุติธรรมในอุดมคติของแต่ละคนแต่จะต้องยอมรับต่อผลแพ้ชนะที่มีคำพิพากษาแล้ว เหล่านี้ก็เป็นปัญหาของกระบวนการยุติธรรมแระหลักที่ใช่อยู่ในปัจจุบันหากความยุติธรรมจะต้องขึ้นอยู่กับการมีเงินในการต่อสู้คดีหรือความเก่งของทนายความ หรือการจำข้อเท็จจริงได้ดีกว่ากระบวนการยุติธรรมสำหรับคนจนก็คงจะมี่มีเพราะท้ายที่สุดแล้วความยุติธรรมก็เอาเงินไปซื้อได้ และเป็นเช่นนั้นมาตลอด
                ดังนั้นแนวทางในการจะมีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกขึ้นมาจึงเป็นแนวทางที่ดีและเกิดประโยชน์สำหรับคนยากคนจนมากกว่ากระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก แต่คงเป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้รับประโยชน์เท่านั้น แต่อาจไม่เป็นประโยชน์สำหรับนักกฎหมายบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายได้ และจำนวนคดีที่จะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอย่างเช่น นายประกัน ทนายความ เพราะแนวทางนี้อาจทำให้จำนวนคดีต้องลดลง
และอาจส่งผลกระทบต่อนักกฎหมายกลุ่มดังกล่าวไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงอาจมีการเปลี่ยนแปลงจากทีคาดการณ์ไว้ก็ได้ ซึ่งจะต้องรอดูกันต่อไป

รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก
                รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมีการแบ่งอยู่หลายรูปแบบโดยในแต่ละรูปแบบมีแนวทางร่วมกันจากพระราชบัญญัติบริหารราชการแผ่นดินฉบับที่ 7 มีแนวทางให้จัดตั้งและนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมในทุกระดับเช่น ระดับชาติ หรือศาล ก่อนถึงศาล ระดับสำนักงานอัยการ ระดับสถานทีตำรวจท้องที ระดับอำเภอ และระดับหมู่บ้าน จะเห็นได้ว่าก่อนจะถึงกระบวนการยุติธรรมชั้นศาลจะมีทางเลือกมากมายที่คู่พิพาทสามารถเลือกใช้ หรือเลือกเข้าสู่กระบวนการโดยจะได้รับคำแนะนำจากเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ให้เข้าสู่กระบวนการ แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคู่พิพาททั้งสองฝ่าย ซึ่งกระบวนการยุติข้อพิพาทดังกล่าวมีทั้งทางแพ่งและทางอาญา แต่ก็มีข้อจำกัดในส่วนคดีแพ่งทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และคดีอาญาต้องไม่ใช้คดีเกี่ยวกับเพศและขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่สังคม ซึ่งข้อพิพาทหรือคดีประเภทดังกล่าวมีความสลับซับซ้อนาจำเป็นจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านดังกล่าวในการพิจารณา เพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริง จึงยังไม่นำมาเข้ากระบวนการยุติธรรมทางเลือกซึ่งสภาพเป็นข้อตกลงยอรับของคู่พิพาททั้งสองฝ่าย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะฟ้องโดยนำเรื่องมาฟ้องต่อศาล หรือจดแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนประจำท้องทีที่เกิดเหตุ เป็นคดีแพ่งหรืออาญาแล้วแต่กรณีจะต้องส่งเรื่องให้อัยการส่งเรื่องฟ้องพอถึงในศาล ถ้าคดีเล็กน้อยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม และไม่เป็นคดีเกี่ยวกับเพศ ศาลก็จะมีกระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนถ้าไกล่เกลี่ยกันได้สำเร็จก็จะพิพากษาความยอม คือพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่ความทำไว้ต่อกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาก็สามารถบังคับคดีกันได้เลยโดยไม่ต้องมาฟ้องกันใหม่ให้ยุ่งยากคดีก็จะเสร็จไป โดยที่ไม่ต้องรอวันนัดพิจารณาสืบพยาน ซึ่งใช้เวลาเป็นปีกว่าจะเสร็จในศาลชั้นต้นและหากฝ่ายใดไม่พอใจในคำพิพากษาก็จะต้องมีการอุทธรณ์หรือฎีกาก็จะทำให้คดีเสร็จช้าไปอีกบางทีคู่ความตายไปแล้วคดีพึงจะเสร็จ จะบังคับคดีก็ไม่ได้ทำให้กระบวนการยุติธรรมเสียไป กระบวนการยุติธรรมแต่ละรูปแบบมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.กระบวนการยุติธรรมทางเลือกชั้นอัยการ
                เมื่อตำรวจส่งเรื่องให้คดีอาญามาถึงพนักงานอัยการ ในเบื้องต้นอัยการอาจถามความสมัครใจคู่ความทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ตกลงกัน หากคู่ความยอมตกลงกันก็จะทำข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายหรืออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความเสียหายหรือข้อเรียกร้องต่อกัน ซึ่งข้อตกลงจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเกิดโดยความสมัครใจซึ่งอาจทำให้ข้อพิพาทเบาไปหรือเบาบางลงเป็นบางส่วนตกลงกันได้ และผลของการตกลงอาจทำให้ศาลใช้เป็นองค์แระกอบในการพิจารณาลดโทษหรือรอลงอาญาแล้วแต่ดุลพินิจของศาลซึ่งกระบวนการยุติข้อพิพาทวิธีนี้มีการใช้มานานพอสมควรแล้ว และเหมือนกับในชั้นพนักงานสอบ และอัยการได้มีการออกระเบียบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานราชการ

2.กระบวนการยุติธรรมทางเลือกชั้นพนักงานสอบวนหรือตำรวจ
                เมื่อมีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือตำรวจแล้วพนักงานสอบสวนจะเรียกต้องมาให้ปากคำ และสอบสวนข้อเท็จจริงต่างและเรียกคู่ความอีกฝ่ายมารับทราบข้อกล่าวหา หากมีการยอมรับว่ามีการกระทำความผิดจรองก็จะพิจารณาว่าเป็นคดีต่อส่วนตัวหรือไม่ ถ้าเป็นความผิดต่อส่วนตัวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของสังคมและไม่เป็นคดีเกี่ยวกับเพศอาจไม่การตกลงกันได้ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กันหรือเสียค่าปรับก็จะทำให้คดีความในชั้นพนักงานสอบสวนหรือตำรวจซึ่งตำรวจก็ไม่ต้องส่งเรื่องให้พนักงานอัยการฟ้องต่อศาลแต่ก็ยังมีข้อจำกัดคดีใหญ่ๆ ก็ยังคงต้องนำส่งศาลไม่สามารถใช้ประบวนการนี้ได้

3.กระบวนการยุติธรรมทางเลือกชั้นอำเภอ

                เดิมก็มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกชั้นอัยการและตำรวจอยู่แล้ว แต่ดูเหมือคดีจะไม่ลดลงสักเท่าไร จึงเกิดแนวคิดนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกแยกออกมายังพนักงานฝ่ายปกครองหรืออำเภอเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนที่เกิดข้อพิพาทระหว่างกันทั้งทางแพ่งและทางอาญา สามารถเข้าสู่กระบวนการได้ ซึ่งในส่วนของอัยการและพนักงานสอบสวนส่วนใหญ่จะใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในคดีอาญา เพรามีคดีเข้าแต่เฉพาะคดีอาญาทางเลือกจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสวนของคดีแพ่งทำให้แนวคิดนี้มีการออกกฎกระทรวงให้มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกขึ้นในทุกอำเภอของประเทศ ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ให้เกิดผลจริงในปี2554 ซึ่งในปี2553 ได้มีการวางโครงสร้างวิธีการจัดการและรับสมัครบุคคลทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยร่วมกับนายอำเภอหรือปลัดอำเภอตามที่ได้รับมอบหมาย โดยให้มีการจ่ายค่าตอบแทนและค่าเดินทางซึ่งจะมีผลเป็นรูปธรรมในปี2554
                คุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยโดยหลักการแล้วกำหนดแต่เพียงอายุต้องไม่ต่ำกว่า 35 ปี ซึ่งคำนึงถึงวัยวุฒิเป็นสำคัญ แล้วความเป็นที่ยอมรับในสังคมซึ่งความน่าเชื่อคือต่อบุคคลทั่วไปซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมาย เพราะมีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอเป็นคนกลางซึ่งมีความรู้ทางด้านการปกครองเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
                แต่ประเด็นการรู้กฎหมายนี้ก็เป็นความสำคัญซึ่งโดยหลักการแล้วผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจในการตัดสินข้อพิพาท แต่ในการแสดงเหตุผลให้คู่พิพาทคิดตัดสินในว่าอะไรดีกว่าระหว่างการไกล่เกลี่ยกับการขึ้นศาลหากไม่มีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดีแล้วจะทราบถึงที่มาของเหตุและผลจนสามารถอธิบายให้คู่พิพาทเข้าใจได้อย่างไรซึ่งประเด็นนี้ควรตั้งข้อสังเกตเพื่อหาคำตอบกันต่อไป

5.กระบวนการยุติธรรมทางเลือกชุมชนหรือหมู่บ้าน
                กระบวนการยุติธรรมในรูปแบบนี้มีการกำหนดกรรมการยุติธรรมชุมชนโดยเลือกจากผู้นำชุมชนกรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน เข้ามาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้กับบุคลในชุมชนในชุมชนที่มีข้อพิพาทต่อกัน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในระดับชุมชนและสังคมโดยรวมของประเทศ ในกระบวนการยุติธรรมชุมชนมีข้อดีคือมีลักษณะเล็กเพราะฉะนั้นจะรู้ว่าใครมีความประพฤติอย่างไรในชุมชนและกรรมการยุติธรรมชุมชนสามารถทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อพิพาทได้ดีกว่าระบบศาลหรือระดับอำเภอ และสามารถทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชนได้ดีแต่ก็มีข้อเสียการเป็นกรรมการยุติธรรมชุมชนจะต้องมีความเป็นกลางแต่กรรมการอาจเป็นญาติพี่น้องกับคู่พิพาททำให้เสียกระบวนการยุติธรรมชุมชนไปได้ และอีกอย่างที่สำคัญความคุ้มเคยต่อกันและรู้จัดกันมานานอาจไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ เพราะคู่พิพาทก็รู้ตื้นลึกหนาบางของกรรมการยุติกรรมชุมชนเป็นอย่างดีเช่นกัน ดังนั้นในการเลือกกรรมการยุติธรรมชุมชนควรมีการเลือกตั้งไม่ใช้แต่งตั้งกล่าวคือกรรมการชุมชนควรจะต้องได้รับการยอมรับจากคนในชุมชนว่าสามารถทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยได้ดี
ส่วนประเภทของข้อพิพาทก็คงจะเป็นข้อพิพาทที่เป็นการกระทำต่อส่วนตัวหรือทางแพ่งและคงไม่กำหนดทุนทรัพย์หรือความเสียหายถ้าประสงค์จะตกลงกันระหว่างคู่พิพาทก็สามารถใช้กระบวนการใช้นี้ได้

6.การตั้งอนุญาโตตุลาการ
                อีกทางเลือกหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางเลือกไม่กล่าวถึงไม่ได้นั้นคือการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชีขาด ซึ่งกระบวนการยุติธรรมประเภทนี้คลายกับศาลมากที่สุด กล่าวคือมีการชี้ขาดตัดสินคดีและสามารถบังคับคดีต่อกันได้ ซึ่งผู้จะมาเป็นอนุญาโตตุลาการนี้สามารถตกลงกันคัดเลือกผู้เชียวชาญเกี่ยวกับข้อพิพาทเพื่อทำหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่นลูกบ้านทะเลาะกันเรื่องที่ดินลูกบ้านทั้งสองฝ่ายก็ไปหาผู้ใหญ่บ้านตัดสินว่าใครถูกใครผิดใครควรมีสิทธิในที่ดินในบริเวณใดซึ่งผู้ใหญ่บ้านก็สามารถชี้ขาดข้อพิพาทนี้ได้ หากคู่พิพาทไม่ปฏิบัติต่อกันตามคำชี้ขาดก็สามรถยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับคดีให้ได้

7.ทนายความเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
                ในฐานะของนักกฎหมายที่ดีจะต้องมีแนวทางในการลดความขัดแย้งในสังคม เมื่อลูกความมาหาหรือปรึกษาปัญหาเพื่อจะสู้คดีทนายความควรจะให้คำแนะนำทางประนีประนอมข้อพิพาท และเป็นตัวประสานในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้คู่พิพาทสองฝ่ายได้ตกลงกันได้ด้วยดี และเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการลดความขัดแย้งในสังคมควรจะมีช่องทางให้ทนายความได้รับค่าตอบแทนในการทำหน้าไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเช่นเดียวกับผู้ไกล่เกลี่ยอำเภอซึ่งความคิดเห็นนี้น่าจะทำให้ชักจูงใจให้ทนายความร่วมเข้ามาเป็นแนวร่วมลดความขัดแย้งในสังคมได้อีกส่วนหนึ่งและเพิ่มกระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้เกิดผลจริงได้อีกระบวนการหนึ่ง

บทสรุป
                กระบวนการยุติธรรมทางเลือกเป็นช่องทางให้บุคคลทุกกลุ่มได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและเพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมส่วนรวม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ดีและมีประโยชน์แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นทางเลือกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมซึ่งหากไม่เลือกในรูปแบบทางเลือกไปเลือกกระแสหลักหรือศาลจำนวนความขัดแย้งก็คงไม่ลดลงแต่เป็นสิ่งที่ดีที่มีหลายช่องทาง และสิ่งที่สำคัญคือการเลือกที่จะใช้ทางเลือกที่จะใช้ทางเลือกจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการเผยแพร่หรือชี้ให้เป็นถึงประโยชน์ของกระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้กับประชาชนทั่วไปได้รู้มิใช้ต้องมีข้อพิพาทแล้วจึงรู้ซึ่งจะไม่มีข้อมูลในการตัดสินใจ
                และที่สำคัญนักกฎหมายทุกคนในสังคมจะต้องร่วมกันปลูกจิตสำนึกให้เห็นประโยชน์ของกระบวนการยุติธรรมทางเลือกเสียก่อนว่ามีประโยชน์อย่างไรมิใช่รู้แต่เพียงทำให้จำนวนคดีลดลงจากศาลแทนที่จะมองว่าทำให้สังคมสงบสุขมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยากที่จะทำให้มีคนที่คิดอะไรได้เหมือนกันและมองแต่ประโยชน์ส่วนรวม
วิวัฒนาการตามยุคและสมัยซึ่งจะต้องมีสิ่งเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อเหตุการณ์ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทางเลือก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น